โรคเรื้อรัง

  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 385 มกราคม 2554
    ถาม : จุมพล/ร้อยเอ็ดผมมีอาการเสียงแหบมาเกือบเดือนแล้ว ไม่ทราบว่าเป็นผลมาจาการดื่มเหล้าและสูบบุหรี่หรือไม่ (กลัวเป็นมะเร็ง) ครับตอบ : นพ.พรชัย โอเจริญรัตน์การดื่มสุราและสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็งศรีษะและลำคอ โดยผู้ป่วยอาจมีความคิดปกติระดับยีนที่เสริมให้เกิดมะเร็งจาการดื่มสุราและสูบบุหรี่นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น เช่น ภาวะทางภูมิคุ้มกันผิดปกติทางพันธุกรรม ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 379 พฤศจิกายน 2553
    โรคอัมพาตใบหน้า (面瘫)ทัศนะแพทย์แผนจีน (๒)ได้กล่าวถึงสาเหตุ การรักษา การดำเนินโรค และความชุกของการเกิดโรคอัมพาตใบหน้าทัศนะแผนปัจจุบันไปแล้ว ฉบับนี้ว่าด้วยทัศนะแพทย์แผนจีนโรคอัมพาตใบหน้าทัศนะแพทย์แผนจีนแพทย์จีนเรียกอาการปาก ตา บิดเบี้ยว (口眼歪斜症) หรืออัมพาตใบหน้า (面瘫)สาเหตุของการเกิดโรค๑. ส่วนใหญ่เกิดจากบริเวณใบหน้ากระทบกับลมและความเย็น (风寒) เป็นการกระทบของลมต่อเส้นลมปราณจิงลั่ว ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 379 พฤศจิกายน 2553
    เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่พบผู้ป่วยกระจายอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ ทั้งในเมืองและชนบททั่วประเทศ โรงพยาบาลอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี มีผู้ป่วยเบาหวานมารับบริการจำนวนมากเช่นกัน ผู้ป่วยเบาหวานมีอาการแทรกซ้อนที่พบก็คือ เท้าชาและสูญเสียความรู้สึก เป็นผลให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดแผลที่เท้า ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 379 พฤศจิกายน 2553
    ตับอักเสบชนิดเรื้อรัง หมายถึง ภาวะที่มีการอักเสบของตับเป็นเวลานานเกิน ๖ เดือนขึ้นไป โดยการตรวจเลือดพบมีร่องรอยของการอักเสบ (เอนไซม์ตับ ได้แก่ สารเคมีที่มีชื่อว่า เอเอสที และเอแอลที ขึ้นสูงกว่าปกติ) สาเหตุอาจเกิดจากพิษสุราเรื้อรัง พิษจากยาหรือสมุนไพรบางชนิด การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี ภาวะไขมันเกาะตับ (ในผู้ที่เป็นเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง อ้วน) ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 378 ตุลาคม 2553
    ต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีรายการโทรทัศน์สัมภาษณ์ดารานักแสดงที่เป็นอัมพาตบริเวณใบหน้า มีอาการปิดตาไม่สนิทและปากเบี้ยว เวลากินอาหารแล้วมีน้ำลายไหลออกทางมุมปากข้างเดียวกับตาที่ปิดไม่สนิทโรคนี้รู้จักกันมากว่า ๒๐๐ ปีแล้ว โดย นายแพทย์ชาร์ล เบลล์ (Charles Bell) นักกายวิภาคศาสตร์ชาวสกอตแลนด์ ซึ่งเป็นคนแรกที่ได้รวบรวมผู้ป่วยกลุ่มนี้ขึ้น ในปี พ.ศ.๒๓๖๔ จึงให้เกียรติเรียก อัมพาตใบหน้าประเภทนี้ว่า ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 377 กันยายน 2553
    ที่ผ่านมาเคยนำเสนอเรื่องความเครียดและผลทางจิตใจอาจก่อโรคผิวหนังสารพัดชนิดไปแล้ว และมีข่าวจากลำปางและชุมพร พบผู้ป่วยโรคประหลาดมีแมลงออกมาจากผิวหนัง ซึ่งในที่สุดสรุปว่าน่าจะเข้าข่ายโรคจิตหลงผิดทางผิวหนัง จึงขอถือโอกาสนี้นำเสนอเรื่องของแมลงหรือปรสิตที่ไชชอนผิวหนังได้จริง และเรื่องของแมลงหรือปรสิตที่ไชชอนหลอกๆ คือไม่มีตัวตนจริงแต่ผู้ป่วยคิดไปเองคิดว่ามีแมลงไชชอน แต่จริงๆ ไม่มี ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 377 กันยายน 2553
    วาโก้โบว์ชมพู สู้มะเร็งเต้านม ๒๐๑๐ ร่วมกับสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ และโรงพยาบาลสมิติเวช เชิญชวนหญิงไทยเข้ารับการตรวจเอกซเรย์เต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมพร้อมอัลตราซาวนด์ ในกิจกรรม "Wacoal Cares Your Breasts. Mammogram Saves Your Life." นพ.มงคล ณ สงขลา ประธานงานโครงการ "วาโก้โบว์ชมพู สู้มะเร็งเต้านม ๒๐๑๐" กล่าวว่า "สถิติผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในประเทศไทย ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 377 กันยายน 2553
    สมาพันธ์หัวใจโลก (World Heart Federation) องค์กรระดับโลกที่ทำหน้าที่รณรงค์ต่อสู้โรคหัวใจและอัมพาตให้แก่ชาวโลก ได้ถือเอาวันอาทิตย์สุดท้ายเดือนกันยายนของทุกปี เป็น "วันหัวใจโลก" ซึ่งได้เริ่มครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๓ ปีนี้จึงเป็นการครบรอบ ๑๐ ปีของการจัดงานวันหัวใจโลก สำหรับปีนี้ "วันหัวใจโลก" ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓, World Heart Day: Sun 26th September 2010 ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 375 กรกฎาคม 2553
    พบมะเร็งลำไส้ใหญ่ในกรุงเทพฯ ๗-๑๐ คนต่อประชากร ๑ แสนคน เหตุจากกรรมพันธุ์ ๒-๓ เท่า และพฤติกรรมการกินอยู่แบบทันสมัยศ.กิตติคุณ นพ.จรัส สุวรรณเวลา รองประธานศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และ นพ.ณวรา ดุสิตานนท์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาศัลยศาสตร์มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เปิดเผยถึงผลสรุปของโครงการบำเพ็ญพระกุศลใน ศ.ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 375 กรกฎาคม 2553
    มะเร็งต่อมลูกหมาก ส่วนใหญ่ไม่มีอาการแสดง และอาจตรวจพบโดยบังเอิญขณะไปตรวจเช็กสุขภาพกับแพทย์ บางรายอาจมีอาการถ่ายปัสสาวะลำบากแบบเดียวกับอาการของต่อมลูกหมากโตมะเร็งชนิดนี้มักลุกลามช้า และสามารถมีชีวิตเป็นปกติสุขและยืนยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่ไม่มีอาการแสดงปัจจุบันยังไม่แนะนำให้ผู้ที่ไม่มีอาการแสดงไปตรวจคัดกรองมะเร็งชนิดนี้ด้วยการตรวจหาระดับสารพีเอสเอในเลือด ...