ออกกำลังกาย

  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 353 กันยายน 2551
    ปัจจุบันคนไทยออกกำลังกายด้วยการวิ่งกันมากขึ้น จึงขอเล่าเรื่องปัญหาผิวหนังที่พบบ่อยในนักวิ่ง ซึ่งได้แก่ เล็บห้อเลือด ตุ่มน้ำใสพองที่ผิวหนัง ตาปลา ภาวะเท้าดำ ผิวแตกลาย ผิวหนังติดเชื้อโรค ผิวแพ้สัมผัส เช่นเดียวกับที่พบในนักกีฬาอีกหลายชนิดดังที่กล่าวไปแล้วในฉบับเดือนสิงหาคม นอกจากนี้นักวิ่งยังพบปัญหาผิวหนังอย่างอื่นอีก ได้แก่หัวนมอักเสบเกิดจากการที่วิ่งไปแล้วหัวนมเสียดสีกับเสื้อ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 353 กันยายน 2551
    อาหารที่กำหนดไว้สำหรับผู้ฝึกโยคะ โดยเฉพาะการฝึกหฐโยคะนั้นเข้มงวดมาก ไม่กินอาหารรสเผ็ด รสเปรี้ยว รวมถึงการหลีกเลี่ยงเกลือให้ได้มากที่สุด เนื้อและเครื่องดื่มที่ทำให้เกิดการกระตุ้นก็เป็นของต้องห้าม กล่าวได้ว่าอาหารหลักของผู้ฝึกคือ นมและผัก โดยอนุญาตให้กินเมล็ดธัญพืชและถั่วบ้าง มีข้อสังเกตว่าขณะที่ชาวตะวันตกแบ่งอาหารเป็นกินแต่ผัก (vegetarian) กับไม่จำกัดว่าจะต้องกินแต่ผัก (non vegetarian) ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 352 สิงหาคม 2551
    คเนศกริยา หรือ มูละโสธนาคือการใช้ไม้เส้นผ่าศูนย์กลางขนาดประมาณนิ้วมือ ทำความสะอาดและนวดบริเวณทวาร ซึ่งตามตำราโบราณใช้รากขมิ้น โดยจุ่มในน้ำมันละหุ่ง แล้วสอดลึกเข้าไปราวสามส่วนสี่ของนิ้วมือ หมุนรากขมิ้นเพื่อนวดทั้งตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกาเทคนิคนี้ช่วยให้กล้ามเนื้อหูรูดบริเวณทวารแข็งแรงขึ้น และมีความชุ่มชื้นมากขึ้น มีผลดีต่อผู้สูงอายุ ซึ่งอาจมีปัญหาความแห้งที่ปากทวาร อันส่งผลให้อุจจาระคั่ง ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 352 สิงหาคม 2551
    ระหว่างที่เขียนต้นฉบับนี้ผู้เขียนใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวที่บอสตัน สหรัฐอเมริกา ช่วงเดือนมิถุนายนเป็นช่วงที่อากาศกำลังสบาย ฝนตกบ้างเป็นบางวัน ผู้คนออกกำลังวิ่งตามถนน ตามสวนสาธารณะริมแม่น้ำชาร์ลส บอสตันเมื่อ 10 กว่าปีก่อนต่างกับปัจจุบันเพราะโครงการทางด่วนลงดิน (Big Dig) ทำให้เมืองน่าอยู่ขึ้น ทางด่วนสีเขียวน่าเกลียดถูกเปลี่ยนลงใต้ดิน ผู้เขียนมีโอกาสออกไปวิ่งริมแม่น้ำ บรรยากาศดีมาก ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 351 กรกฎาคม 2551
    สุขภาพคือสุขภาวะที่สมบูรณ์ ทั้งทางกาย ทางจิต ทางสังคม และทางปัญญาสุขภาวะแต่ละด้านอาจมีองค์ประกอบด้านละ 4 รวมเป็นสุขภาวะ 4 x 4 = 16 ดังนี้สุขภาวะทางกาย ประกอบด้วย ร่างกายแข็งแรง ปลอดสารพิษ ปลอดภัย มีสัมมาชีพสุขภาวะทางจิต ประกอบด้วย ความดี ความงาม ความสวย ความมีสติสุขภาวะทางสังคม ประกอบด้วย สังคมสุสัมพันธ์ สังคมเข้มแข็ง สังคมยุติธรรม สังคมสันติสุขภาวะทางปัญญา ประกอบด้วย ปัญญารู้รอบรู้เท่าทัน ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 350 มิถุนายน 2551
    1. วาตะบาสติการชำระล้างลำไส้ของโยคะนั้น ผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องมีความชำนาญในการทำนาอุลิ (เทคนิคการใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องขยับไปมาเพื่อถูนวดช่องท้อง) นั่งยองๆ เข่าชิดแนบอก เอามือรวบหน้าแข้ง กอดรัดขาให้ชิดทรวงอก ทำนาอุลิ ทำให้เกิดสุญญากาศในช่องท้อง จากนั้น เปิดหูรูดทวาร อากาศจะเข้าไปในลำไส้ หูรูดทวารจะปิดเองโดยอัตโนมัติเมื่อเราคลายนาอุลิ ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 349 พฤษภาคม 2551
    อายุไม่ใช่เป็นเพียงตัวเลขอย่างที่พูดกันเล่นๆ หลังวัยรุ่นไปแล้ว ร่างกายมนุษย์เสื่อมลงตามอายุ แน่นอนว่ากล้ามเนื้อทุกมัดของร่างกายย่อมมีความเสื่อม ออกแรงได้น้อยลงตามอายุ งานวิจัยหลายชิ้นยืนยันว่า แรงที่ออกได้น้อยลงส่วนหนึ่งมาจากการไม่ได้ใช้งานกล้ามเนื้อนั้น ไม่ใช่เพราะความเสื่อมหรือความชราภาพอย่างเดียว การใช้งานกล้ามเนื้อนั้นอยู่บ่อยๆ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 347 มีนาคม 2551
    กวี คงภักดีพงษ์ สถาบันโยคะวิชาการ มูลนิธิหมอชาวบ้านโยคะบำบัด บทที่ ๔ (ต่อ)เทคนิคโยคะอื่นๆ อนามัยในช่องคอและจมูก อนามัยของระบบย่อยอาหารโยคะมีเทคนิคเพื่อการชำระและปรับสภาพของกระเพาะอาหาร ได้แก่๑)ตันตะ เดาติ เป็นการล้างกระเพาะอาหารด้วยสายยาง๒)วาสตระ เดาติ เป็นการทำความสะอาด และนวดผนังกระเพาะอาหาร ด้วยผ้า๓)วามัน เดาติ เป็นการตั้งใจอาเจียน๔)คชกรณี หรือ กุญชรกริยา ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 346 กุมภาพันธ์ 2551
    โยคะบำบัด บทที่ ๔กวี คงภักดีพงษ์ สถาบันโยคะวิชาการ มูลนิธิหมอชาวบ้านเทคนิคโยคะอื่นๆ อนามัยในช่องคอและจมูกพรหมมุทราที่เรียกชื่อพรหมมุทราเพราะเทคนิคนี้หันหน้าไป๔ ทิศ คล้ายพระพรหมผู้มี ๔ เศียร หนึ่งในตรีเทพของศาสนาฮินดู ในการฝึก เราค่อยๆ เงยศีรษะไปด้านหลังช้าๆ จนสุด สายตาจ้องที่ปลายจมูก ขบฟันบนฟันล่างไว้ด้วยกัน ผ่อนคลายศีรษะ ค้างไว้ราว ๓ วินาที จากนั้นยกศีรษะกลับ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 346 กุมภาพันธ์ 2551
    รศ.ดร.สุธาทิพ ภมรประวัติ กลุ่มวิชาเภสัชโภชนศาสตร์ โครงการบัณฑิตศึกษา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รูมาตอยด์...ทำอย่างไร คลายโรคโรครูมาตอยด์คืออะไร? โรครูมาตอยด์เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ลักษณะเด่นคือ มีการเจริญของเยื่อบุข้ออย่างมาก เกิดการลุกลามและทำลายกระดูกและข้อได้ในที่สุด ระยะแรกผู้ป่วยมักมีอาการอ่อนเพลีย ปวดตามข้อ มีอาการฝืดขัดข้อเป็นเวลานาน (ตอนเช้า) ...