ยาและวิธีใช้

  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 358 กุมภาพันธ์ 2552
    คำถาม "ออทิสติกกับการใช้ยา"Žออทิสติกออทิสติกเป็นโรคหนึ่งที่นับวัน จะมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น มักจะพบในเด็กเล็ก (ตั้งแต่อายุ 1-2 ขวบครึ่ง) ซึ่งเป็นลักษณะอาการผิดปกติของการพัฒนาการของสมอง จะแสดงออกทางด้านภาษา สังคม และพฤติกรรม เช่น เด็กดูดนมได้ไม่ดี ไม่ส่งเสียง อ้อแอ้ ไม่พูด หรือพูดช้า พูดไม่รู้เรื่อง ไม่สนใจใคร ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมและบุคคล ชอบแยกตัว เล่นอยู่คนเดียว ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 357 มกราคม 2552
    คำถาม ยาแก้แพ้ : เม็ดสีเหลือง "คลอร์เฟนิรามีน"Žยาแก้แพ้ (ยาต้านฮิสตามีน หรือ antihistamines)ยาแก้แพ้ หรือยาต้านฮิสตามีน เป็นยาอีกกลุ่มหนึ่งที่มีอัตราการใช้สูงมากในประเทศไทย จะเป็นรองก็แต่ "เพื่อนที่แสนดี" หรือ "ยาแก้ปวดลดไข้พาราเซตามอล"¹ โดยยาแก้แพ้ที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือคลอร์เฟนิรามีน (chlorpheniramine) หรือที่เรียกว่ายาแก้แพ้เม็ดสีเหลือง ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 356 ธันวาคม 2551
    คำถาม การใช้ยา "โรคไขมันในเลือดสูง" อย่างพอเพียงโรคไขมันในเลือดสูง โรคไขมันในเลือดสูง (hyperlipidemia) หรือบางครั้งจะเรียกว่าโรคไขมันในเลือดผิดปกติ (dyslipidemia) เป็นภาวะที่ร่างกายของเรามีระดับของไขมันในเลือดที่ผิดปกติ หรือสูงเกินไป ซึ่งนับวันจำนวนผู้ป่วยโรคนี้จะมากขึ้นเรื่อยๆทั่วโลก โดยเฉพาะสังคมเมืองที่มีรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบตะวันตก มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 355 พฤศจิกายน 2551
    หลายคนคงคุ้นเคยกับการไปลอกหน้า...ลอกผิวมาแล้ว แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบว่า วิธีนี้ทำอย่างไร มีข้อควรระวังและข้อแทรกซ้อนอย่างไรบ้างที่ว่าลอกหน้าลอกผิวนั้น ความหมายในที่นี้คือการลอกผิวด้วยสารเคมี ก่อนลอกหน้าแพทย์จะประเมินดูลักษณะผิวเหี่ยวแก่จากแสงแดด และลักษณะสีผิว เลือกสารเคมีให้เหมาะสมกับสภาพผิว เช็ดไขมันที่ผิวหนังออกด้วยอะซีโทน อาจต้องป้องกันบริเวณที่ผิวบอบบาง เช่น ที่ริมฝีปาก ในรูจมูก ร่องแก้ม ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 355 พฤศจิกายน 2551
    ข่าวการเสียชีวิตของผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ที่เข้ารับการผ่าตัดถุงใต้ตาจากคลินิกแห่งหนึ่ง และเสียชีวิตหลังจากฉีดยาชาก่อนการผ่าตัดไม่นานนัก ผลการสอบสวนเบื้องต้นสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการแพ้ยาชา ประชาชนหลายคนมีความกังวลใจว่าจะทราบได้อย่างไรว่าตนเองแพ้ยาชนิดใดบ้าง และจะมีวิธีการป้องกันตนเองได้อย่างไร พญ.นิภาศิริ วรปาณิ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 354 ตุลาคม 2551
    บ่อยครั้งที่ผู้เขียนมักจะได้ยินผู้ป่วยหรือญาติบอกว่า"หมอครับ ผมขอเติมน้ำเกลือได้ไหม รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง"Ž"ไม่เติมน้ำเกลือหรือคะ จะได้หายเร็วๆ" หรือ"ขอน้ำเกลือบำรุงกำลังเติมให้คุณแม่หน่อยนะคะ จะได้แข็งแรงขึ้น"Ž"ผมขอผงเกลือแร่กลับบ้านด้วยนะครับ จะได้เอาไว้ชงดื่มเวลาเพลียๆ"Žคำพูดเหล่านี้ช่วยยืนยันว่า ผู้ป่วยบางรายยังเข้าใจ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 353 กันยายน 2551
    เรามักจะได้ยินคนพูดกันบ่อยๆ ว่า "ถ้าจะให้หายป่วยเร็วๆ ต้องฉีดยา" หรือ "ยาฉีดแรงกว่ายากิน เลยได้ผลดีกว่า"Žแม้แต่บทสนทนากับหมอ..."หมอ ผมขอยาฉีดได้ไหม จะได้หายเร็วๆ" หรือ"ถ้าไม่ฉีดยาแล้วจะหายหรือคะ"Žจะเห็นได้ว่าผู้ป่วยบางคนยังขาดความรู้ความเข้าใจ และยังมีความเชื่อว่ายาฉีดนั้นต้องดีกว่าหรือแรงกว่ายากินซึ่งไม่ถูกต้องนัก ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 353 กันยายน 2551
    วัคซีนคือสิ่งที่แพทย์ให้ผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง โดยวิธีฉีดหรือให้กิน วัคซีนจะเข้าสู่ร่างกายแล้วกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อวัณโรคในธรรมชาติ มีผลให้ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคและป่วยสำหรับวัคซีนมีความจำเป็นจะต้องฉีดให้เด็กให้ครบถ้วน มีอะไรบ้าง ขอแบ่ง "ความจำเป็น" ออกเป็น 2 มุมมอง (Viewpoint)ผู้ปกครองหรือเด็ก มุมมองของผู้ปกครองหรือเด็กนั้น ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 351 กรกฎาคม 2551
    การใช้ยาพอเพียง หมายถึงการใช้ยาที่เหมาะสมหรือพอเหมาะ สมเหตุสมผล ตามความจำเป็นไม่มากไป ไม่น้อยไปในบ้านเรามีการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมอยู่ 2 ลักษณะ ลักษณะหนึ่งคือ ใช้น้อยไป เช่น ยาปฏิชีวนะหรือยาต้านจุลชีพ (ชาวบ้านนิยมเรียกว่า ยาแก้อักเสบ) ซึ่งจำเป็นต้องใช้ให้ครบขนาดและระยะเวลากำหนดสำหรับการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย (เช่น ทอนซิลอักเสบ ไซนัสอักเสบ วัณโรค ทางเดินปัสสาวะอักเสบ เป็นต้น) ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 351 กรกฎาคม 2551
    คำถาม ทำไม? ยาต้นตำรับ..จึงมีราคาสูง จะเป็นยาที่ดีกว่ายาอื่นๆ หรือไม่?ยาต้นตำรับ ยาต้นตำรับ (original drugs) หมายถึง ยาที่ผลิตโดยบริษัทที่เป็นผู้วิจัยคิดค้นยาชนิดนั้นๆ ขึ้นมา หรือบริษัทที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตรในการวิจัยและพัฒนายาชนิดนั้นๆ ซึ่งส่วนใหญ่ของยาต้นตำรับจะเป็นยาจากต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น เป็นต้นบริษัทผู้คิดค้นยาชนิดใหม่ให้แก่วงการแพทย์ ...