โรคหู ตา คอ จมูก

  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 61 พฤษภาคม 2527
    ผู้ที่สนใจจะรักษาตนเองเบื้องต้นในยามเจ็บป่วย ก่อนอื่นก็ควรจะรู้จักตนเองในยามไม่เจ็บป่วยเสียก่อน คอลัมน์ “ร่างกายของเรา” จะมาคุยกับท่านเกี่ยวกับเรื่องความเป็นไปในร่างกายของตัวเราเองในยามปกติหรือเรียกให้หรูอีกนิดคือ ว่าด้วยวิชาภายวิภาคสรีรวิทยาระดับชาวบ้านซึ่งเราจะเล่าสู่กันฟังเป็นตอนๆ ไปตาเป็นอวัยวะที่นับเป็นช่องทวารที่สำคัญที่สุดในจำนวนทวารทั้ง 5 ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 60 เมษายน 2527
    ในฉบับที่แล้วได้เล่าว่าหูหนวกที่เกิดจากความบกพร่องของพันธุกรรมมีกว่า 70 ชนิด ยีนที่เกี่ยวข้องกับการได้ยินคงจะมีจำนวนนับร้อยยีน และโรคกรรมพันธุ์ที่ทำให้หูตึงหรือหูหนวกมีการถ่ายทอด 3 แบบ คือแบบที่คนหูหนวกต้องได้รับพันธุ์ผิดปกติจากทั้งพ่อและแม่ แบบที่คนหูหนวกได้รับพันธุ์ผิดปกติจากพ่อหรือแม่ และแบบที่คนหูหนวกมักเป็นที่ชายซึ่งได้รับพันธุ์ผิดปกติมาจากแม่ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 59 มีนาคม 2527
    คนหูตึงกับหูหนวกหรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า คนมีความผิดปกติของการได้ยินนั้น ในประเทศไทยมีมากแค่ไหนไม่ทราบได้ แต่ผมเดาว่าคงมีมาก เพราะเห็นมารับบริการที่ “คลีนิคโสตสัมผัสและการพูด” ของภาควิชาจักษุ โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นคณะแพทยศาสตร์ที่ผมสังกัดอยู่ จนผู้ให้บริการทำไม่ทันในประเทศสหรัฐอเมริกา เขาว่ามีคนหูตึงและหูหนวกประมาณ 14 ล้ารนคน ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 58 กุมภาพันธ์ 2527
    ผู้ที่สนใจจะรักษาตนเองเบื้องต้น ในยามเจ็บป่วย ก่อนอื่นก็ควรจะรู้จักตัวเองในยามไม่เจ็บป่วยเสียก่อน คอลัมน์ “ร่างกายของเรา” จะมาคุยกับท่านเกี่ยวกับเรื่องความเป็นไปในร่างกายของตัวเราเองในยามปกติหรือเรียกให้หรูอีกนิดคือ ว่าด้วยวิชากายวิภาคสรีรวิทยาระดับชาวบ้าน ซึ่งเราจะเล่าสู่กันฟังเป็นตอนๆ ไป คำว่า หู ฟังดูง่ายๆ แต่หูก็เป็นอวัยวะที่น่าสนใจทีเดียว ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 54 ตุลาคม 2526
    (ตอน 3) คอพอกอย่างไร จึงจะไม่เป็นพิษคอพอกตอนที่ 3 นี้เป็นตอนสุดท้าย ก่อนที่ท่านผู้อ่านจะได้อ่านตอนนี้ก็ขอให้กลับไปดูแผนภูมิคอพอกที่ได้ลงตีพิมพ์ใน "หมอชาวบ้าน" ฉบับที่ 52 หน้า 24 อีกครั้ง คอพอกไม่เป็นพิษ นั้นแบ่งออกได้เป็น คอพอกแบบธรรมดา คอพอกประจำถิ่น คอพอกขาดฮอร์โมน คอพอกอักเสบเรื้อรัง หรือมะเร็งธัยรอยด์ คอพอกเหล่านี้ ชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 53 กันยายน 2526
    ฟังดูแล้ว คล้ายเอาเรื่อง "ขี้ผง" มาพูดใช่! ก็เรื่องขี้ผงน่ะซีครับอย่างคิดว่าเป็นเรื่อง "ขี้ผง" อย่างคุณคิด เพราะบางครั้งเรื่องขี้ผง (เข้าตา) ถ้าเกิดกับคุณ คุณเองนั่นแหละจะรู้สึกเข้าที่ช่องไหน พอว่า ถ้าเข้าตาละก็เดือดร้อนทุกทีทำไมต้องมีขี้ผงเข้าตา?ถามแบบนี้ใครๆ ก็ตอบได้ ถามทำไม? ใครจะไปรู้ล่วงหน้าว่า ผงจะเข้าตา? ทุกครั้งล้วนไม่รู้ตัวทั้งสิ้นทำไง ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 53 กันยายน 2526
    หมายเหตุเรื่องคอพอกตอน 1 ฉบับที่แล้วหน้า 25 ซึ่งเป็นแผนภูมิคอพอก มีข้อผิดพลาด คือ ในกรอบสีเหลี่ยมที่เขียนว่า ถุงน้ำดี (ซีสต์) หรือเนื้องอกธรรมดา หรือมะเร็ง ที่ถูกต้องเป็น ถุงน้ำ (ซีสต์) หรือเนื้องอกธรรมดา หรือมะเร็งตอนที่ 2 ทำไมคอพอก เป็นพิษทีนี้ลองมาดูกันซิว่า คอพอกเป็นพิษนั้นคืออะไร ก็อย่างที่ว่าไว้แล้ว คอพอกเป็นพิษ คือ การเสียสมดุลย์ของต่อมธัยรอยด์ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 52 สิงหาคม 2526
    การมีก้อนบวมเกิดขึ้นที่บริเวณซอกคอ ข้างหนึ่งข้างใด ถือว่าเป็นภาวะที่ไม่น่านิ่งนอนใจหากไม่ใช่วัณโรคของต่อมน้ำเหลือง ก็อาจเป็นมะเร็งของต่อมน้ำเหลืองก็ได้ ภาพที่ 1 ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 52 สิงหาคม 2526
    "โรคน่ารู้ฉบับนี้จะขอพาผู้อ่านมาพบกับ เรื่อง "คอพอก" ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยโดยแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 มารู้จักคอพอกกัน ตอนที่ 2 ทำไมคอพอกจังเป็นพิษ ตอนที่ 3 คอพอกอย่างไร จึงไม่เป็นพิษ"ตอนที่ 1 มารู้จักคอพอกกันเถิด คอพอก คือต่อมธัยรอยด์ที่คอโตผิดปกติ ทำให้คอโป่งเป็นลูกออกมาเหมือนลูกโป่ง ต่อมธัยรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายอยู่ที่ลำคอ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 45 มกราคม 2526
    ตาบอดตาใสรู้ไว้ใช่ว่าผู้เขียนได้กล่าวตอนต้นถึงโรคที่เข้าข่ายของการเป็นคนที่จะได้ชื่อว่า “ตาบอด – ตาใส “ ที่พบเสมอๆ พอสังเขปได้ว่ามี 7 โรค และฉบับที่ 43 ได้ว่าไว้1. โรคตาเข2. โรคตาผิดปกติ3. ต้อหินชนิดเรื้อรัง ฉบับที่ 44 ได้กล่าวถึง4. ประสาทจอรับภาพเสื่อมชนิดเกิดกับเซลล์มีสีที่เรียกว่า โรคเรทติไนติสปิคเม้นท์โตซ่า5. ...