อาหารสมุนไพร

  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 204 เมษายน 2539
    มหกรรมเกษตรอาหารปลอดสารพิษ 5-7 เมษายน 2539เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ซึ่งเคยจัดสมัชชาเกษตรทางเลือกเมื่อปี 2535 กำลังจะจัดการประชุมใหญ่เป็นครั้งที่ 2 ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติในวันที่ 5-7 เมษายน 2539 ข้อใหญ่ใจความของเรื่องนี้ก็คือ ถ้าคนเราในเมืองกินอาหารปลอดสารพิษ นอกจากชีวิตจะปลอดภัยแล้วจะช่วยถักทอธรรมชาติ คือป่าไม้ ต้นน้ำลำธาร ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 204 เมษายน 2539
    ต้มข่าไก่สับปะรด เครื่องปรุงสับปะรด กะทิ ตะไคร้ ใบมะกรูด ข่าอ่อน พริกขี้หนูแห้ง หรือพริกชี้ฟ้าแห้ง พริกขี้หนูสด มะนาว น้ำปลา ผักชีฝรั่ง ผักชีลาว เห็ดฟาง เนื้อไก่วิธีปรุง1. นำพริกชี้ฟ้าแห้งมาย่างไฟให้หอม2. นำกะทิมาต้มให้แตกมันหรือพอเดือด แล้วจึงใส่ตะไคร้ ใบมะกรูด ข่าอ่อน เนื้อไก่ พอเนื้อไก่สุก ใส่สับปะรด เห็ดฟาง3. ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 204 เมษายน 2539
    ข่าอีกรสชาติของความร้อนแรงในเครื่องแกงไทย“ขิงก็รา ข่าก็แรง”สำนวนในภาษาไทย ที่ยกมาข้างต้นนี้เป็นสำนวนไทยดั้งเดิมอีกบทหนึ่งซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525 อธิบายว่า หมายถึง “ต่างก็จัดจ้านพอ ๆ กัน ต่างก็มีอารมณ์ร้อนพอ ๆ กัน ต่างไม่ยอมลดละกัน” ความหมายของสำนวนนี้คนไทยสมัยก่อนเข้าใจกันดี และนำมาใช้กันเสมอ นับได้ว่าเป็นสำนวนยอดนิยมบทหนึ่ง ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 203 มีนาคม 2539
    ไก่ผัดขิงและขิงดองเพื่อให้สอดคล้องกับคอลัมน์ต้นไม้ใบหญ้าที่เสนอเรื่อง ขิง : ความเผ็ดร้อนที่เปี่ยมประโยชน์และรสชาติ “เข้าครัว” จึงขอเสนอรายการอาหารเกี่ยวกับขิงถึง 2 รายการคือ ไก่ผัดขิงและขิงดอง ซึ่งอาหารทั้ง 2 อย่างนี้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปอยู่แล้ว จึงอยากให้ลองทำตามขั้นตอนที่เสนอมาข้างล่างนี้ อร่อยอย่างไรอย่าลืมกระซิบบอกต่อเพื่อนบ้านนะคะขิงดองส่วนผสม ขิงอ่อน น้ำตาลทราย ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 203 มีนาคม 2539
    ขิงความเผ็ดร้อนที่เปี่ยมประโยชน์และรสชาติ“ถึงพริกถึงขิง”สำนวนในภาษาไทยที่ยกมาข้างบนนี้ เป็นสำนวนที่ใช้เป็นคำวิเศษณ์ มีความหมายว่า “เผ็ดร้อนอย่างรุนแรง” คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจสำนวนได้ดี เพราะรู้จักทั้งพริกและขิง ซึ่งเป็นพืชผักอันมีลักษณะเด่นในด้านความเผ็ดร้อนด้วยกันทั้งคู่ เมื่อนำมาประกอบกับคำว่า “ถึง” ซึ่งหมายความว่า “มากพอ” (เช่น ถึงอกถึงใจ) ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 202 กุมภาพันธ์ 2539
    ขมิ้น : สีเหลืองที่กินก็ได้ทาก็ได้นกขมิ้นเหลืองอ่อนเอย ค่ำแล้วจะนอนที่ตรงไหนจะนอนที่ไหนก็นอนได้ สุมทุมพุ่มไม้ก็เคยนอน...บทเพลงที่ยกมาข้างต้นนี้ เป็นบทเพลงกล่อมเด็กแถบภาคกลางของไทยชื่อเพลงนกขมิ้น ซึ่งถือว่าเป็นเพลงกล่อมเด็กที่นิยมขับร้องกันแพร่หลายที่สุดเพลงหนึ่ง เนื่องจากมีเนื้อเพลงลึกซึ้งกินใจ แสดงถึงความเมตตาอาหาร ห่วงใย ต่อนกสีเหลืองอ่อนตัวน้อย น่ารัก ซึ่งไร้รังนอน ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 201 มกราคม 2539
    เมื่อผูกแล้วต้องแก้ผูกหรือไม่ผูก คืออะไรคำว่า “ผูก” ในที่นี้หลายคน คงสงสัยว่าคืออะไร แต่บางคนอาจจะเดาได้แล้วว่าเรากำลังจะพูดถึงคำว่า “ท้องผูก” ซึ่งเป็นอาการที่อาจจะเกิดกับใครก็ได้ โดยปกติจะมีน้ำและส่วนประกอบอื่น ๆ ประมาณ 1,500 มิลลิลิตร ที่จะผ่านลงมาสู่ลำไส้ใหญ่และทวารหนักเพื่อผลิตเป็นอุจจาระประมาณ 50-200 กรัม แล้วแต่ปริมาณน้ำและอาหารที่แต่ละคนบริโภค ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 201 มกราคม 2539
    แกงเลียงบวบและผัดบวบเพื่อให้สอดคล้องกับคอลัมน์ต้นไม้ใบหญ้าที่เสนอเรื่อง บวบ : ผัก ใบ ใย เมล็ด ประโยชน์เหลือหลาย “เข้าครัว” จึงขอเสนอรายการอาหารเกี่ยวกับบวบถึง 2 รายการคือ แกงเลียงบวบและผัดบวบ ซึ่งอาหารทั้ง 2 อย่างนี้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปอยู่แล้ว แต่คนรุ่นใหม่อาจจะกินบวบไม่ค่อยเป็น อยากให้ลองชิมดูจะพบว่าบวบนั้นหวานอร่อยอย่าบอกใครเชียวลองมาเข้าครัวทำตามขั้นตอนที่เสนอมาข้างล่างนี้ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 201 มกราคม 2539
    บวบ : ผักผลพื้นบ้าน ดอกนั้นสีงาม“สองเต้าห้อยตุงตังถุงตะเคียว โคนเหี่ยวแห้งรวบเหมือนบวบต้มเสวยสลายาจุกพระโอษฐ์อมมันเน่าเชยน่าชมนางเทวี...”บทกลอนข้างต้นนี้คัดมาจากบทละครเรื่อง ระเด่นลันได ของพระมหามนตรี (ทรัพย์) แต่งไว้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 นับเป็นหนังสือกลอนชั้นเอกเรื่องหนึ่งจำพวกเรื่องล้อเลียนขบขัน กลอนที่ยกมานั้นเป็นบทชมโฉมนางประแดะ เมื่อระเด่นลันไดมาพบครั้งแรก ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 200 ธันวาคม 2538
    ผักชี : ผักที่เป็นหน้าตาของอาหารไทย“ผักชีโรยหน้า”ข้อความที่ยกมาข้างต้นนี้เป็นสำนวนประเภทเปรียบเทียบที่แพร่หลายที่สุดสำนวนหนึ่งในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ให้ความหมายของสำนวนนี้ว่า “การทำความดีเพียงผิวเผิน” ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ เข้าใจกันดีและนำไปใช้กันอย่างกว้างขวาง แม้กระทั่งนักร้องยอดนิยม อย่างอัสนี-วสันต์ ยังนำไปแต่งเป็นเพลงฮิตชื่อเพลง ...