การพักผ่อน

  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 309 มกราคม 2548
    "เจ้าลืมนอนซ่อนพุ่มกระทุ่มต่ำเด็ดใบบอนช้อนน้ำในไร่ฝ้าย..."Žบทกลอนข้างบนนี้เป็นตอนหนึ่งของเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน แต่งขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เชื่อกันว่าเป็นสำนวนของครูแจ้ง เป็นตอนที่ขุนแผน กล่าวถึงความหลังเพื่อตัดพ้อต่อนางพิมที่มาแต่งงานอยู่กินกับ ขุนช้าง กลอนบทนี้ผู้ที่ชมชอบในวรรณคดีไทยต่างท่องจำกันได้ขึ้นใจ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 308 ธันวาคม 2547
    เอาธูปเทียนบุปผาสุมาลัย ชวนกันไหว้พระแท่นแผ่นศิลาในระหว่างนางรังทั้งคู่ค้อม คำนับน้อมกิ่งก้านก็สาขา... ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 295 พฤศจิกายน 2547
    ปราณยามะ 7 ความเชื่อ VS ข้อเท็จจริงเราได้พูดถึงรายละเอียดของปราณยามะมาพอสมควรแล้ว ฉบับนี้ เราลงตารางเปรียบเทียบ ระหว่าง ปราณยามะกับการหายใจทั่วไป เพื่อให้เราเข้าใจปราณยามะได้ดียิ่งขึ้นไปอีกเมื่อทำความเข้าใจกับหลักต่างๆในการฝึกปราณยามะแล้ว จะเห็นได้ว่า ปราณยามะไม่ใช่การเพิ่มออกซิเจนให้กับร่างกายอย่างที่หลายคนเข้าใจ ตรงกันข้ามเลย ปราณยามะเป็นการลดอากาศ เพื่อลดการหายใจ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 295 พฤศจิกายน 2547
    ผกากรอง : ความงามที่มากับความทนทานข้ามทวีปประเทศไทยตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตรของโลกจึงมีอากาศร้อนชื้น (humid tropical) มีแสงแดดตลอดปี และมีฝน ๔-๖ เดือน ในช่วงที่ขาดฝน อากาศก็ยังมีความชื้นมากพอสำหรับพืชพันธุ์ ส่วนใหญ่จะดำรงชีพอยู่ได้โดยอาศัยความชื้นจากธรรมชาติ (ทั้งในอากาศและใต้ดิน) ไม่ต้องผลัดใบเพื่อรักษาน้ำในลำต้นเอาไว้อย่างในเขตแห้งแล้ง พืชหลายชนิดเลือกออกดอกเฉพาะในฤดูแล้ง ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 294 ตุลาคม 2547
    ปราณยามะ (6) ประโยชน์ของปราณยามะจากที่ได้คุยกันว่า ปราณยามะ ไม่ใช่การฝึกเพิ่มออกซิเจนให้กับร่างกาย แต่เป็นการทำให้หายใจช้าลง หายใจน้อยลง จึงอาจมีคนสงสัยว่า ถ้าไม่ใช่เพื่อออกซิเจน งั้นเราจะฝึกปราณยามะไปทำไม หรือเราได้ประโยชน์อะไรจากการฝึก ตำรา Pranyama เขียนโดย สวามีกุลวัลยนันท์ ของสถาบัน ไกวัลยธรรม อธิบายไว้ว่า ประโยชน์ทางด้านกายภาพที่ได้จากการฝึกควบคุมลมหายใจ คือ เพิ่มความยืดหยุ่นของปอด ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 294 ตุลาคม 2547
    ผักตบชวา : ความงามบนผืนน้ำสำหรับทุกคน “เดือนสิบเอ็ดน้ำนอง เดือนสิบสองน้ำทรง”ข้อความข้างบนนี้เป็นส่วนหนึ่งของเพลงพื้นบ้าน ในแถบที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย มีมาแต่ครั้งใดไม่ปรากฏ แต่อย่างน้อยก็นับร้อยปี มีเนื้อหาแสดงถึงลักษณะธรรมชาติของที่ราบลุ่มภาคกลาง ซึ่งมีน้ำนองท่วมพื้นที่ริมแม่น้ำและท้องทุ่งนา ตั้งแต่เดือนสิบเอ็ด (ตุลาคม) และระดับน้ำจะสูงขึ้นเรื่อยๆจนคงที่ (น้ำทรง) ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 302 ตุลาคม 2547
    ชมนาด :ไม้ดอกที่ให้กลิ่นหอมของข้าวใหม่ปีนี้เคยถูกคาดหมายว่าจะเป็นปีที่แห้งแล้งมากปีหนึ่ง และทำท่าจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะตั้งแต่ปีใหม่ (สากล) เดือนมกราคมจนถึงปีใหม่ (ไทย) หรือสงกรานต์กลางเดือนเมษายน ยังไม่มีฝนตกลงมาอย่างจริงจังเหมือนปีที่ผ่านๆมาเลย แต่พอถึงปลายเดือนเมษายนที่ถูกทำนายว่าจะเป็นช่วงอากาศร้อนที่สุดของปี ฝนก็ตกลงมาอย่างหนักทั่วทุกภาคของประเทศ ทำให้ความร้อนและแห้งแล้งลดลงไปมากมาย ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 293 กันยายน 2547
    อาโรคยปรมา ลาภา "ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง"คำกล่าวนี้ทุกคนคงเห็นด้วยอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นโรคทางกาย ใจ หรือจิตวิญญาณ โดยเฉพาะผู้อ่าน "หมอชาวบ้าน" และหลายคนก็คงทราบกันแล้วว่า เวลาเราเจ็บไข้ได้ป่วย เกิดจากสาเหตุใหญ่ๆ ๒ สาเหตุ๑. เชื้อโรคเข้าไปในร่างกาย เช่น บิด อหิวาตกโรค วัณโรค เป็นต้น๒. การใช้ชีวิตไม่ถูกต้อง รวมทั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 293 กันยายน 2547
    ปีบ : ราชินีจากป่าภาคตะวันตกขณะที่เขียนต้นฉบับต้นไม้ใบหญ้าฉบับนี้ เป็นช่วงต้นเดือนสิงหาคม ใกล้ถึงวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ อันถือเป็นวันแม่แห่งชาติของคนไทย เดือนสิงหาคมนับเป็นเดือนที่อยู่ในตอนกลางของฤดูฝน อาจถือได้ว่ามีฝนตก (โดยเฉลี่ย) สูงที่สุดเดือนหนึ่งในรอบปี โดยเฉพาะแถบภาคกลาง ซึ่งรวมภาคตะวันตกเอาไว้ด้วย เมื่อนึกถึงภาคตะวันตกของไทย ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 304 สิงหาคม 2547
    "นางแย้มเหมือนแม่แย้มยินดี ร่อนา ต้องดุจมือเทพี พี่ต้อง..."ที่ยกมาข้างบนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโคลงสี่สุภาพจากเรื่องลิลิตพระลอ อันเป็นวรรณคดีไทยยุคต้นกรุงศรีอยุธยา มีอายุราว 500 ปีมาแล้ว นับเป็นวรรณคดีไทยเก่าแก่ ที่สุดเรื่องหนึ่งที่คนไทยรู้จักกันดี มีผู้รู้ ทางภาษาและหนังสือบางท่านเคย ตั้งข้อสังเกตว่า โครงเรื่องของลิลิตพระลอ มีความเป็นสากลด้านสร้างความสะเทือนใจอย่างสูง ...