โรคช่องปากและฟัน

  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 98 มิถุนายน 2530
    “หมอครับ ช่วยถอนฟันให้ผมที มันปวด ทรมานผมเหลือเกิน”ท่านที่เคยมีอาการปวดฟันจากฟันผุ ฟันโยก หรือโรคและความผิดปกติอื่นๆในช่องปาก อาจจะเคยพูดเช่นนี้ หรือคิดเช่นนี้บ้างใช่ไหม?ในฐานะของทันตแพทย์จะต้องได้พบกับผู้ป่วยจำนวนมากที่มีความประสงค์ให้ถอนฟันดังกล่าว แม้จะได้อธิบายถึงประโยชน์ของฟันถาวรและฟันนั้นยังสามารถเก็บไว้ได้ ถ้าได้รับการรักษา บูรณะ แก้ไขส่วนบกพร่องให้ถูกต้อง ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 98 มิถุนายน 2530
    ที่ลิ้นแตกเป็นเสี่ยงๆ มีวงสีขาวๆที่ปลายลิ้นด้วย เวลากินอาหารแสบมาก...ช่วยแนะนำยาที่กินแล้วหายให้ด้วยถามผมเป็นโรคอยู่ด้วยกัน 2 โรค คือโรคแรก ผมเป็นโรคลิ้นแตก ไปหาหมอ 2 ครั้งแล้วไม่หาย ผมจึงเขียนจดหมายมาถามคุณหมอ เพราะผมอ่านพบในหมอชาวบ้านว่า เพื่อนคนหนึ่งเขียนจดหมายมาถามคุณหมอและบอกอาการ คุณหมอแนะวิธีไปซื้อยา กินแล้วหาย ผมจึงเขียนมาถามบ้างโรคของผมนั้น ที่ลิ้นแตกเป็นเสี่ยงๆ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 97 พฤษภาคม 2530
    ปากของคนเราเปรียบเสมือนห้องครัวในบ้าน โดยที่อาหารต่างๆจะผ่านเข้าออกทุกวัน วันละหลายๆครั้ง บางทียังเป็นที่เก็บอาหารทั้งโดยความตั้งใจและเผลอปล่อยไว้ ถ้าอาหารถูกเก็บไว้นานเกินควร โดยละเลยการทำความสะอาดในระยะเวลาที่เหมาะสม ประกอบกับเชื้อโรคที่มีอยู่ในบริเวณนั้น ก็จะเป็นสาเหตุให้เกิดการบูดเน่า และเกิดกลิ่นที่ไม่สะอาดตามมาในที่สุดเมื่อประมาณ 300 ปีมาแล้ว นายแพทย์ค็อก ผู้ค้นพบกล้องจุลทรรศน์ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 96 เมษายน 2530
    การรักษารากฟันสำหรับคอลัมน์ “สุขภาพของช่องปาก” ฉบับนี้ ขอนำปัญหาของคุณผู้อ่านมาตอบสลับกับบทความเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศกันเสียบ้างปัจจุบันดิฉันอายุ 24 ปี ตอนเด็กๆ อายุได้ 8 ปี ได้รับการจัดฟันที่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ คุณหมอได้บอกว่าฟันซี่ H. incisor ทั้งซ้ายและขวาเป็นฟันตาย แต่ก็ไม่ได้ทำการรักษาแต่อย่างใดต่อมาอายุประมาณ 18 ปี ได้ไปทำฟันที่โรงพยาบาลมิชชั่น ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 95 มีนาคม 2530
    ฟันกับผู้สูงอายุเกศา โลมา นขา ทันตา ตโจจะเห็นได้ว่า “ฟัน หรือ ทันตา” เป็นอวัยวะหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแนะให้ใช้พิจารณาถึงความไม่เที่ยงแท้ของสังขาร อันอาจเสื่อมสลายหรือสูญเสียไปตามการเปลี่ยนแปลงของอายุขัย มโนภาพเกี่ยวกับ “ฟันกับผู้สูงอายุ” จึงมักจะเป็นภาพคุณตา คุณยายที่ไม่มีฟันทั้งปาก คางยื่น เพราะพยายามใช้เหงือกบดเคี้ยวอาหาร เป็นผลให้ต้องกินอาหารช้า ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 94 กุมภาพันธ์ 2530
    แปรงฟัน – แปรงเหงือก“...ตื่นเช้าและก่อนนอน ต้องแปรงฟันทุกวัน...”ข้อความข้างต้น เป็นตอนหนึ่งของบทเพลงเด็กอนุบาล ซึ่งจูงใจให้แปรงฟันเป็นประจำ และเชื่อว่าเราท่านก็ได้ปฏิบัติตนอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่เด็กจนเป็นผู้ใหญ่ แปรงฟัน เนื่องจากได้เน้นอยู่ที่อวัยวะฟัน ทำให้หลายท่านอาจจะละเลยการดูแลรักษาอวัยวะโดยรอบในช่องปาก โดยเฉพาะเหงือก ซึ่งมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันเลย ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 93 มกราคม 2530
    สารเคลือบร่องฟันป้องกันฟันผุพูดถึงโรคฟันผุ หลายคนคงจะเอามือกุมแก้ม หรือใช้ลิ้นดุนฟัน ด้วยความสงสัยว่าฟันของเราผุหรือเปล่า เพราะบางคนมีประสบการณ์จากความรุนแรงของการปวดฟันจากโรคฟันผุ ซึ่งจะมากน้อยเท่าใด คนที่เคยปวดฟันเท่านั้นที่จะบรรยายได้ดีด้วยวิทยาการทางทันตแพทยศาสตร์ที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในปัจจุบันนี้ เราสามารถป้องกันโรคฟันผุด้วยวิธีการต่างๆ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 91 พฤศจิกายน 2529
    แผลร้ายใต้ลิ้น ภาพนี้แสดงถึงแผลเรื้อรังเป็นเดือนๆ ลักษณะคล้ายดอกกะหล่ำที่ใต้ลิ้นด้านซ้ายของคนไข้โดยไม่รู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างไร แผลจะค่อยๆลุกลามออกไปเรื่อยๆ ลักษณะเช่นนี้ก็เดาได้ไม่ยากว่า ไม่ใช่แผลธรรมดาๆเป็นแน่ถูกแล้ว ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 88 สิงหาคม 2529
    การแปรงฟันกับยาสีฟันก่อนเข้านอนและตื่นนอนตอนเช้า กิจวัตรประจำวันของเราอย่างหนึ่งคือ การแปรงฟันและยาสีฟันดูเหมือนจะเป็นของคู่กันที่ขาดไม่ได้บางคนเมื่อไม่มียาสีฟัน ถึงกับไม่ยอมแปรงฟันเอาเสียเลย ความเป็นจริง ยาสีฟันมีความจำเป็นขนาดนั้นเชียวหรือ พระท่านว่า การเชื่ออะไรง่ายๆ ล้วนทำให้ไม่เกิดปัญญาอ้าว...อย่างงั้นการดูโฆษณาแล้วเชื่อเขาว่า ยาสีฟันอย่างนี้ดี อย่างนั้นดี ต้องสูตรนี้ถึงได้ผล ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 86 มิถุนายน 2529
    เหงือกนั้นสำคัญไฉนเรื่องสุขภาพของช่องปากเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง เพราะอาหารที่เรากินทุกอย่างจะต้องผ่านส่วนนี้ ถ้าอวัยวะที่ใช้ในการบดเคี้ยวคือฟันไม่ดี ก็ย่อมมีผลต่อการทำงานของระบบย่อยอาหารอื่นๆนอกจากฟันแล้ว เหงือกก็มีความสำคัญควบคู่กันไปด้วย ดังนั้นในการรักษาสุขภาพของช่องปาก เราจึงต้องดูแลสุขภาพของเหงือก เพราะถ้ามีโรคเหงือกเกิดขึ้นก็จะมีผลไปถึงฟันได้ จึงขอเชิญฟังคำอธิบายของ ทพ.การุญ ...