บทความมาใหม่

  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 393 มกราคม 2555
    คนไข้โรคเรื้อรังที่พบบ่อยในบ้านเรา ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคปอดที่มีอาการหอบหืดคนไข้โรคเรื้อรังคนไข้โรคเหล่านี้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นปัญหาสำคัญของการสาธารณสุข ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการดูแลรักษาคนไข้กลุ่มนี้ เนื่องจากเป็นโรคที่รักษาไม่หายคนไข้จะมีอาการกำเริบ เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย เช่น เบาหวานอาจเกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำเฉียบพลัน ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 393 มกราคม 2555
    การกินอาหารนอกจากจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ทำให้เรารู้สึกอิ่มและมีพลังในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ แล้ว ยังมีผลต่อสุขภาพระยะยาวของเราด้วย อาหารหวาน-มัน-เค็ม ส่งผลร้ายต่อสุขภาพโดยเฉพาะถ้ากินปริมาณมากอย่างต่อเนื่องเป็นประจำอาหารหวาน-มัน-เค็ม เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ที่ทำให้คุณภาพชีวิตลดลง ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 392 ธันวาคม 2554
    ท่ามกลางมหาอุทกภัยปี ๒๕๕๔ ที่สร้างความโกลาหล ความเดือดร้อน ความทุกข์กังวล ภาวะขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภค เราจำเป็นต้องรักษาชีวิตและสุขภาพด้วยสติ (รู้ทัน) ปัญญา (รู้รอบ)ในที่นี้ ขอนำเสนอแนวทางปฏิบัติ “หลัก ๔ อ.” ได้แก่ อาหาร ออกกำลัง อารมณ์ และอันตราย ที่เหมาะกับสถานการณ์น้ำท่วมดังกล่าวโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรักษาใจ (อารมณ์) ให้แจ่มใส มีพลัง ก็จะสามารถมีสติปัญญากำกับอีก ๓ อ. ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 392 ธันวาคม 2554
    โรคติดต่อทางเดินหายใจ : ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบอาการสำคัญมีอาการไข้ (ตัวร้อน) เจ็บคอ มีน้ำมูก ไอสำหรับไข้หวัดใหญ่ มักมีอาการปวดเมื่อยมากและเบื่ออาหารร่วมด้วยสำหรับปอดอักเสบ มักมีอาการไอมีเสมหะเหลืองหรือเขียว เจ็บหน้าอก หายใจหอบร่วมด้วยวิธีป้องกันดูแลร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำหรือแช่น้ำเป็นเวลานาน ไม่สวมเสื้อผ้าที่เปียกชื้น เช็ดตัวให้แห้งอยู่เสมอ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 392 ธันวาคม 2554
    ผู้ป่วยเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ อัมพาต หืด ถุงลมปอดโป่งพอง ไตวายเรื้อรัง มะเร็ง โรคเลือด โรคความจำเสื่อม โรคจิต ควรปฏิบัติดังนี้ผู้ป่วยที่นอนติดเตียง ช่วยตัวเองไม่ได้ ผู้ป่วยที่ต้องล้างไตทางเลือดหรือทางช่องท้อง ต้องให้เลือดหรือฉีดยารักษา (เช่น เคมีบำบัด) บ่อย หรือต้องไปพบแพทย์บ่อย (ทุก ๑-๒ สัปดาห์) ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 392 ธันวาคม 2554
    “หนีร้อนมาพึ่งเย็น” เป็นคำกล่าวที่น่าจะเหมาะสมที่สุดสำหรับการมาพักอาศัยในศูนย์อพยพมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมแห่งนี้ เพราะนอกจากจะเย็นกายแล้วก็ยังสุขใจอีกด้วย อาหารการกินก็พร้อมเสร็จสรรพ ครั้นเจ็บป่วยก็มีหมอคอยดูแล คอยรักษาอยู่ไม่ห่าง...ทว่าน้ำท่วมครั้งนี้เหมือนเป็นบทพิสูจน์จากฟ้า ที่ประทานความทุกข์ยากลงมาให้ได้รู้ว่ายังมีคนดีที่สามารถพึ่งพิงได้ คราบน้ำตาของผู้ประสบภัย ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 392 ธันวาคม 2554
    ถาม : กนกพร/เพชรบูรณ์การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เหมาะกับกลุ่มใด แล้วทุกคนต้องฉีดหมดหรือไม่ตอบ : นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุลส่วนใหญ่เราจะฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ๒๐๐๙ แล้ว หลังฉีดแล้ว ๑ เดือน ก็สามารถรับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิด ๓ สายพันธุ์ได้ ข้อดีคือจะกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไข้หวัดใหญ่ ๒๐๐๙ ให้มากขึ้น รวมทั้งยังป้องกันเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้อีก ๒ สายพันธุ์ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 392 ธันวาคม 2554
    ถาม : ปรางทิพย์/กาญจนบุรีพ่อดิฉันป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่แล้วติดเชื้อในกระแสเลือด คุณหมอได้ให้ยาฆ่าเชื้อจนอาการเป็นปกติ จึงอยากทราบรายละเอียดของการติดเชื้อในกระแสเลือดค่ะตอบ : นพ.อมร ลีลารัศมีการติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นโรคที่มีอัตราการตายสูงมาก และตายอย่างรวดเร็วถ้าหากได้รับการรักษาไม่ทันท่วงที เพราะเลือดคือองค์ประกอบหลักของร่างกายไหลไปอวัยวะทุกส่วน ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 392 ธันวาคม 2554
    ถาม : ปรีชา/ชลบุรีภรรยาผมตั้งครรภ์ได้ ๓ เดือนแล้วครับ ในฐานะคุณพ่อมือใหม่อย่างผม ต้องทำตัวอย่างไรบ้างครับตอบ : นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์เมื่อมีการตั้งครรภ์ คุณแม่ส่วนมากก็มักจะไปฝากครรภ์กับคุณหมอที่ตัวเองสะดวกและไว้วางใจให้คุณหมอช่วยดูแลสุขภาพของตัวเองและลูกน้อยในครรภ์ ซึ่งเป็นการดูแลทางด้านการแพทย์มากกว่า ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 392 ธันวาคม 2554
    ถาม : ชลดา/เลยต้นเหตุของฟันสึกคืออะไร แล้วมีวิธีป้องกันฟันสึกอย่างไรบ้างคะตอบ : ทพญ.วิมลพรรณ สุระวดีสาเหตุของฟันสึกมักเกิดจากแรงบดเคี้ยวที่ผิดปกติ เช่น ชอบกินอาหารแข็ง กัดน้ำแข็ง หรือนอนกัดฟันรุนแรง นอกจากนี้การกินอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด จำพวกอาหารรสเปรี้ยว น้ำอัดลม ไวน์ และการแปรงฟันที่ผิดวิธี แปรงฟันแรงๆ หรือใช้แปรงสีฟันที่มีขนแข็งก็ทำให้เคลือบฟันสึกได้เช่นกันลักษณะการสึกของฟันที่พบบ่อยๆ มี ๒ ...