โรคหวัด ภูมิแพ้

  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 214 มีนาคม 2540
    ประวัติการเจ็บป่วยนั้นสำคัญไฉน?คุณคงเคย(หรือพาผู้ป่วย)ไปหาหมอหลังจากรักษาตนเอง หรือรักษากันเองเบื้องต้นแล้วไม่หาย และหมอได้ถามคำถามหลายอย่างเช่น“เป็นมานานเท่าไรแล้ว”“เป็นตลอดเวลาหรือพักๆ”“เกิดขึ้นทันทีหรือมีอาการอื่นอะไรก่อน”“มีอาการมากตอนเวลาไหน”“แต่ละครั้งมีอาการอยู่นานแค่ไหน”“อะไรทำให้เป็นมากขึ้น ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 214 กุมภาพันธ์ 2540
    เรื่อง “ไข้” (ตอนที่ 5)โรคต่างๆที่อาจตามมาหลังจากมีอาการดังกล่าว (ตอนที่ 4) 4. อาการปวดศีรษะมาก อาการปวดศีรษะอาจเกิดร่วมกับอาการไข้ต่างๆ โดยเฉพาะถ้าไข้สูง หรือไข้ขึ้นมากๆ ถ้าไข้ลงแล้ว(ตัวไม่ร้อนแล้ว)ยังปวดศีรษะมาก ต้องตรวจดูว่าบริเวณที่ปวดนั้นกดเจ็บไหมหรือเคาะเจ็บไหม เช่นถ้ากดเจ็บหรือเคาะ(ด้วยปลายนิ้วมือ)แล้วเจ็บที่บริเวณหว่างคิ้วหรือโหนกแก้ม และมีอาการคัดจมูกและน้ำมูกเป็นหนองด้วย ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 213 มกราคม 2540
    เรื่อง “ไข้” (ตอนที่ 4)โรคต่างๆที่เกิดอาจเกิดตามมาหลังจากมีอาการดังกล่าว (ตอนที่ 3) เช่นโรคหัด (measles)โรคอีสุกอีใส (chickenpox)โรคส่าไข้หรือโรคไข้ผื่น (exanthematous diseases) อื่นๆ จะทำให้เกิดผื่น(ตั้งแต่เป็นผื่นแดงธรรมดา จนถึงเป็นตุ่ม เป็นแผล หรือเป็นฝีได้) ตามใบหน้า ลำตัว และ/หรือแขนขาลักษณะของผื่นที่ขึ้นชัดเจนแล้วทำให้เราวินิจฉัยโรคไข้ผื่นแต่ละชนิดได้ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 212 ธันวาคม 2539
    เรื่อง “ไข้” (ตอนที่ 3)อาการร่วมหลายอย่างที่จะทำให้เรารู้สาแหตุของโรคได้เช่น1.อาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ถ้าเกิดร่วมกับอาการไข้ตัวร้อนหรือรู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว หนาวๆร้อนๆ หรือสะบัดร้อนสะบัดหนาวจะทำให้นึกถึง “โรคไข้หวัด” (common cold or coryza) ซึ่งเป็นโรคที่พบบ่อยมาก และอาจทำให้มีอาการเจ็บคอ ไอแห้งๆ หรือไอมีเสมหะสีขาวๆหรือไม่มีสี และอาจมีอาการปวดเมื่อยตามตัว ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 209 กันยายน 2539
    อันตรายจากยาแก้แพ้โรคผิวหนังมีประมาณ ๒oo กว่าชนิด โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคติดเชื้อ โรคกรรมพันธุ์ โรคของเนื้อเยื่อชนิดต่างๆในผิวหนัง เช่น ต่อมเหงื่อ ต่อมน้ำมันขุมขน หลอดเลือดและเซลล์สี เป็นต้นโรคติดเชื้อนั้นเกิดจากการได้เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสและเชื้อราส่วนโรคภูมิแพ้จัดเป็นโรคกลุ่มใหญ่และมีอุบัติการณ์สูงที่สุด เพราะจำแนกออกไปได้อีกหลายโรค เช่น แพ้ยา แพ้อาหาร แพ้อากาศ แพ้แดด ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 207 กรกฎาคม 2539
    ไอเรื้อรังมีอาการแพ้เมื่ออากาศเปลี่ยนกะทันหัน ทำอย่างไรจึงจะหายข้าพเจ้าอายุ15 ปี เป็นผู้หนึ่งซึ่งมีอาการไอเรื้อรัง ซึ่งข้าพเจ้าเป็นมาตั้งแต่อายุ 1o ขวบ มีอาการแพ้อากาศ คือ ถ้ามีฝุ่นละอองหรืออากาศเปลี่ยนแปลงกะทันหัน จะไอทันทีและจะไอติดต่อกัน 1-2 วัน ข้าพเจ้าจึงอยากจะทราบวิธีการรักษาตัวให้หายขาดด้วย ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 207 กรกฎาคม 2539
    รักษาภูมิแพ้น้องผมอายุ13 ปี เป็นโรคภูมิแพ้ กินยาแก้แพ้ และยาแอมพิซิลิน 5oo ก็ยังไม่หายผมมีปัญหาอยากเรียนปรึกษาและขอคำแนะนำจากคุณหมอ คือปัจจุบันน้องของผมอายุ13 ปี เรียนอยู่ชั้นม.1 น้องผมมีอาการโรคภูมิแพ้ ทำอย่างไรจึงจะหาย น้องผมเคยกินยาแก้แพ้ และยาแอมพิซิลิน 5oo ก็ยังไม่หาย ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 176 ธันวาคม 2536
    การปรับร่างกายรับฤดูกาลที่มาเยือนการเปลี่ยนแปลงฤดูในปลายปีนี้ อาการเริ่มเปลี่ยนจากความอบอ้าวและเปียกชื้นในหน้าฝน มาเป็นอากาศที่แห้งแล้งและเย็นเยือกของหน้าหนาว เมื่อเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีร่างกายไม่แข็งแรงเกิดอาการไม่สบายและไปหาแพทย์ มักจะได้คำวินิจฉัยที่คล้ายคลึงกัน คือ เป็นหวัดหรือเป็นไข้หวัด ทั้งนี้ตั้งอยู่บนรากฐานทางระบาดวิทยาที่ว่า ช่วงการเปลี่ยนแปลงของฤดู โรคภัยไข้เจ็บที่พบบ่อย ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 175 พฤศจิกายน 2536
    ส่าไข้ข้อน่ารู้1. ส่าไข้ เป็นไข้ออกผื่นชนิดหนึ่งที่พบในทารกวัย 6 เดือนถึง3 ขวบ ไม่พบในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ติดต่อโดยการไอ จาม หรือหายใจรดกัน ระยะฟักตัวของโรคประมาณ7-17 วัน เมื่อเป็นแล้ว มักจะไม่เป็นซ้ำอีก โรคนี้ฝรั่งเรียกว่า “reseolar infantum” แปลว่า “ไข้ผื่นกุหลาบในทารก” คนไทยเรียกว่า “ล่าไข้” บางครั้งก็เรียกว่า ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 170 มิถุนายน 2536
    อาการหวัดอาการหวัดเป็นได้กับทุกเพศ ทุกวัย และตลอดปี ทั้งฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว อาการที่พบบ่อย คือ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ อาจจะมีไข้ต่ำๆ และมักหายไปภายในเวลา2-3 วัน เมื่อได้นอนพักผ่อนอย่างเพียงพอ อาการหวัดไม่ใช่ไข้หวัดใหญ่ซึ่งมีไข้สูง และรุนแรงจนล้มหมอนนอนเสื่อ ลุกไม่ขึ้น และอาจมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆต้นเหตุของอาการหวัดยังไม่ทราบกันดี ...