คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์

  • ว่านหางจระเข้ : แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    ชื่ออื่นๆ : หางตะเข้ ว่านไฟไหม้ ฯลฯ นอกจากโดดเด่นเรื่องช่วยรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกได้ดีแล้ว ยังสรรพคุณทางยาอีกมากมาย อาทิ ยางใช้เป็นยาระบาย ส่วนวุ้นใช้รักษาแผลเรื้อรังจาการฉายรังสี กระเพาะลำไส้อักเสบ แก้ฝีและตะมอย แก้ท้องผูก แก้แผลในปาก ริดสีดวงทวาร นอกจากนี้ว่านหางจระเข้เป็นสมุนไพรที่ใช้เป็นเครื่องสำอางมาอย่างยาวนานนับพันปี มีบันทึกทั้งใน กรีก โรมัน ซาอุดีอาระเบีย จีน อินเดีย เล่ากันว่าเจลจากว่านหางจระเข้เป็นเคล็ดลับความงามของพระนางคลีโอพัตรา ช่วยป้องกันผิวแห้ง ทำให้เรียบลื่น เพิ่มความชุ่มชื้นต้านการอักเสบ ป้องกันแสงอัลตราไวโอเลต บำรุงผิวพรรณให้มีน้ำมีนวล

    ตำรับยา :
    1.รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลจากของมีคม แผลจากการถูกครูด ถลอก แก้ฝีแก้ตะมอย แผลที่ริมฝีปาก ใช้วุ้นจากใบทาบ่อยๆ หรือฝานแปะตรงบริเวณที่เป็นแผล
    2.แก้ปวดศีรษะ ใช้กาบสดของต้น ฝานแฉลบๆ ปิดที่ขมับแก้ปวดศีรษะ
    3.ยาระบาย ใช้ใบ น้ำคั้นจากใบตากแดดหรือเคี่ยวบนไฟจนแห้ง เรียกว่า ยาดำ กินวันละครั้งก่อนนอน
    4.แก้กระเพาะลำไส้อักเสบ ใช้ใบมาปอกเปลือกออกเหลือแต่วุ้น กินวันละ 2 เวลา ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ
    5.แก้อาการปวดตามข้อ โดยการดื่มว่านหางจระเข้ทั้งน้ำ วุ้น หรืออาจจะใช้วิธีปอกส่วนนอกของใบออก เหลือแต่วุ้น นำไปแช่ตู้เย็นให้เย็นๆ จะช่วยให้รับประทานได้ง่าย รับประทานวันละ 2-3 ครั้งๆ ละ 1-2 ช้อนโต๊ะ
    6.แก้ริดสีดวงทวาร เอาว่านหางจระเข้ปอกส่วนนอกของใบ แล้วเหลาให้ปลายแหลมเล็กน้อย แล้วใช้เหน็บในช่องทวารหนัก ถ้าจะให้เหน็บง่าย นำไปแช่ตู้เย็นหรือน้ำแข็งให้แข็ง จะทำให้สอดได้ง่าย ต้องหมั่นเหน็บวันละ 1-2 ครั้ง จนกว่าจะหาย
    7.บำรุงผม ขจัดรังแค วุ้นจากใบสดชโลมบนเส้นผม ทำให้ผมดก เป็นเงางาม และเส้นผมสลวย ขจัดรังแค ช่วยรักษาแผลบนหนังศีรษะด้วย
    8.รักษาผิวด่างดำบนใบหน้า บำรุงผิวพรรณให้มีน้ำมีนวล ลบรอยเหี่ยวย่น ใช้วุ้นทาบนใบหน้า หลังจากได้ทำความสะอาดผิวด้วยน้ำสะอาด
    9.รักษาสิว ใช้วุ้นว่านทาบริเวณที่เป็นสิว จะทำให้สิวยุบตัว และไม่เป็นแผลเป็น
    10.รักษาผิวบริเวณดวงตา บวมช้ำ ใช้วุ้นจากใบสด ตัดเป็นชิ้นขนาดพอดีกับเปลือกตา วางทับบนเปลือกตา

    ** สมุนไพรใกล้ตัว มุ่งเสนอสรรพคุณทางยา การนำไปใช้ควรพิจารณาอย่างรอบด้าน **

    5 ปี 33 สัปดาห์ ที่แล้ว
  • อาการโรคหลอดเลือดสมอง
    พบได้บ่อยในผู้ป่วยผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเบาหวาน ความดันเลือดสูง ไขมันในหลอดเหลือดสูง สูบบุหรี่ อ้วน ฯลฯ ส่งผลให้ผู้ป่วยเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ไม่ใช่โรคเวรโรคกรรม เป็นโรคที่เกิดจากการขาดการดูแลตนเองที่เหมาะสม กินอาหารรสเค็มจัด หวานจัด มันจัด สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ออกกำลังกาย และสูงวัย วิธีสังเกตอาการโรคหลอดเลือดสมองหลักๆ มีดังนี้
    1. ปากเบี้ยว หลับตาไม่สนิท
    2. แขน ขา อ่อนแรงครึ่งซีก หรือชาครึ่งซีก
    3. พูดลำบาก พูดไม่ชัด นึกคำพูดไม่ออก
    4. วิงเวียนศีรษะ เดินเซ โดยเฉพาะพบรวมกับอาการข้างต้น (ข้อ 1-3)

    (เครดิตภาพ : stroke_org)

    5 ปี 33 สัปดาห์ ที่แล้ว
  • สิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา
    คนเราเมื่ออยู่ในภาวะคับขัน ย่อมต้องการใครสักคน หรือสิ่งยึดเหนี่ยวเพื่อเป็นที่พึ่ง คนเจ็บไข้ได้ป่วยที่ต้องมาโรงพยาบาลก็เช่นเดียวกัน ย่อมต้องการที่พึ่งทั้งคน บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เยียวยาทั้งร่างกายและจิตใจ (เครดิตภาพ : chedtha)

    รายละเอียด :>> http://bit.ly/1hbwbct

    5 ปี 33 สัปดาห์ ที่แล้ว
  • การใช้น้ำมันปรุงอาหาร
    น้ำมันปรุงอาหาร มีหลายชนิด หลายยี่ห้อ เลือกให้เหมาะกับการนำมาใช้ แต่การนำมาปรุงอาหารก็สำคัญเช่นกัน
    1. ในครัวเรือนไม่ควรใช้น้ำมันทอดอาหารซ้ำเกิน 2 ครั้ง
    2. หากจำเป็นต้องใช้น้ำมันซ้ำ ให้เทน้ำมันเก่าทิ้ง 1 ใน 3 และเติมน้ำมันใหม่ก่อนเริ่มการทอด อาหารครั้งต่อไป แต่ถ้าน้ำมันทอดอาหารมีกลิ่นเหม็นหืน เหนียวข้น สีดำ ฟองมาก เป็นควันง่าย และเหม็นไหม้ควรทิ้งน้ำมันนั้นไป
    3. ไม่ทอดอาหารไฟแรงเกินไป อุณหภูมิที่เหมาะสมของน้ำมันประมาณ 160-180 องศาเซลเซียส
    4. ซับน้ำส่วนที่เกินบริเวณผิวหน้าอาหารดิบก่อนทอด เพื่อชะลอการเสื่อมสลายตัวของน้ำมัน
    5. หมั่นกรองกากอาหารทิ้งระหว่าง และหลังการทอดอาหาร
    6. เปลี่ยนน้ำมันทอดอาหารบ่อยขึ้น หากทอดอาหารประเภทเนื้อที่มีส่วนผสมของเกลือ หรือเครื่องปรุงรสปริมาณมาก
    7. ปิดแก๊สทันทีหลังทอดอาหารเสร็จ หากอยู่ระหว่างช่วงพักการทอด ควรลดไฟลงเพื่อชะลอการเสื่อมตัวของน้ำมันทอดอาหาร
    8. หลีกเลี่ยงการใช้กระทะเหล็ก ทองแดง หรือทองเหลือง ในการทอดอาหาร เพราะจะไปเร่งการเสื่อมสลายของน้ำมันทอดอาหาร
    9. เก็บน้ำมันที่ผ่านการทอดอาหารไว้ในภาชนะสแตนเลส หรือแก้วปิดฝาสนิท เก็บในที่เย็น และไม่โดนแสงสว่างมาก
    10. ล้างทำความสะอาดกระทะ หรือเครื่องทอดอาหารทุกวัน น้ำมันเก่ามีอนุมูลอิสระของกรดไขมันอยู่มากจะไปเร่งสารเสื่อมสภาพของน้ำมันทอดอาหารใหม่ที่เติมลงไป
    11. บริเวณทอดอาหารควรติดเครื่องดูดควัน และมีการระบายอากาศที่ดี

    5 ปี 33 สัปดาห์ ที่แล้ว
  • ยำผักบุ้งทอดกรอบ
    ยำผักบุ้งทอดกรอบจะใช้ผักบุ้งท้องน้ำ นำไปชุบแป้งแล้วทอดให้เหลืองกรอบ ส่วนของน้ำยำจะปรุงให้เผ็ดมากหรือเผ็ดน้อยแล้วแต่ชอบ อาหารจานนี้สามารถกินได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ส่วนของเนื้อสัตว์ถ้าไม่ชอบกุ้งจะเปลี่ยนเป็นไก่หรือหมูก็ได้ตามใจชอบ หรือจะไม่ใส่เนื้อสัตว์เลย แต่เปลี่ยนเป็นใส่เต้าหู้ทอดกรอบแทนก็จะได้อาหารจานใหม่เพิ่มอีกหนึ่งจาน

    วิธีทำ :>> http://bit.ly/1pCpW6h

    5 ปี 33 สัปดาห์ ที่แล้ว
  • "โยคะหัวเราะ" ความสุขที่หาได้ง่ายๆ
    โดย อาจารย์วินเนอร์ อรุต ธนาสุวรรณดิถี ผู้เชี่ยวชาญโยคะหัวเราะจากอินเดีย จัดโดย โครงการจัดอบรมสุขภาวะเพื่อประชาชน มูลนิธิหมอชาวบ้าน
    https://www.youtube.com/watch?v=icLdCteVEXs

    5 ปี 33 สัปดาห์ ที่แล้ว
  • หูเสือ : แก้ปวดหู บำรุงเลือด
    ชื่ออื่นๆ : ผักหูเสือ หูเสือไทย อีไหล หลึง หอมด่วนหลวง หอมด่วนหูเสือ เนียมหูเสือ ผักฮ่านใหญ่ ฯลฯ ผักพื้นบ้านของชาวอีสานและเหนือ นิยมนำใบสดมาจิ้มน้ำพริกหรือกับแกล้มลาบก้อยต่างๆ เนื่องจากช่วยดับกลิ่นคาวได้ดี

    สรรพคุณ : แก้ฝีในหู แก้ปวดหู พิษฝีในหู หูน้ำหนวก ห้ามเลือด แก้ท้องอืด แก้ไข้หวัดในเด็ก แก้หอบหืด แก้ไอเรื้อรัง ช่วยขับน้ำคาวปลา แก้ปวดท้อง ช่วยเจริญอาหาร ฯลฯ

    ตำรับยา :
    1.แก้ปวดหู แก้ฝีในหู หูน้ำหวก ใช้ใบสดคั้นเอาแต่น้ำหยอด
    2.แก้ไอ แก้เจ็บคอ
    - ตำรับที่ 1 ใช้ใบจำนวน 4 หรือ 5 ใบ ฉีกให้เป็นชิ้นเล็กๆ ต้มกับน้ำประมาณ 1 ลิตร กินวันละ 3 เวลา ครั้งละครึ่งแก้ว อาจใส่น้ำผึ้งและเกลือเล็กน้อย กินก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ อุ่นเช้า – เย็น สัก 2 วัน ต้มดื่มเรื่อยๆ จะช่วยให้อาการไอ เจ็บคอดีขึ้นและหายได้
    - ตำรับที่ 2 ใช้ใบหูเสือสด จำนวน 4 - 5 ใบ สับกับหมูไม่ติดมันให้ละเอียด ต้มกินแบบแกงจืด ใส่เกลือป่น กินทั้งน้ำและเนื้อ 2 มื้อ เช้า - เย็น
    - ตำรับ 3 ใช้ใบหูเสือสด กินกับแจ่ว น้ำพริก แก้ไอ แก้หวัด แก้หอบหืด ทำให้หายใจโล่ง
    3.แก้ไอในเด็ก ใช้ใบหูเสือนวดกับเกลือ คั้นเอาน้ำใส่ช้อนทองเหลืองอุ่นให้เดือด แล้วนำไปให้เด็กกิน
    4.แก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก เมื่อถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก เอาใบหูเสือมาล้างให้สะอาดตำ แล้วนำไปโปะตรงที่เป็นแผล จะช่วยให้แผลไม่เปื่อย ไม่พอง ไม่ลุกลาม
    5.ดับกลิ่นปาก แก้ปวดฟัน ป้องกันฟันผุ นำรากหูเสือมาแช่น้ำธรรมดา กิน และอบบ่อยๆ
    6.แก้ไข้ ตัวร้อนในเด็ก นำใบหูเสือมาตำแล้วโปะหน้าผาก หรือกระหม่อมเด็ก จะทำให้ลดไข้ตัวร้อน
    7.บำรุงเลือด ใช้รากต้มกิน แก้ไข้ รักษาเลือดลมให้ปกติ
    8.แก้แมลงสัตว์กัดต่อย แก้แมงป่องต่อย ตะขาบกัด แก้ผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ใช้ใบสดขยี้พอกบริเวณที่มีอาการ

    (เครดิตภาพ : indianaturewatch, frlhtenvis, อัมพร)

    ** สมุนไพรใกล้ตัว มุ่งเสนอสรรพคุณทางยา การนำไปใช้ควรพิจารณาอย่างรอบด้าน **

    5 ปี 33 สัปดาห์ ที่แล้ว
  • 10 วิธีบริหารจิตในชีวิตประจำวัน
    การบริหารจิตมีผลต่อสุขภาพกาย สมองและจิตใจพอๆ กับการบริหารกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีผลต่อการพัฒนาสมองด้วยการกระตุ้นให้เกิดการงอกใหม่และการปรับวงจรใหม่ของเซลล์สมอง ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาจิตใจให้สมบูรณ์และมีความสุขสงบเย็นอีกต่อหนึ่ง

    การบริหารจิตควรทำให้เป็นกิจวัตรในชีวิตประจำวัน ซึ่งพอรวบรวมไว้ 10 วิธี ดังนี้
    1. ออกกำลังกาย เช่น วิ่งเหยาะ เดินเร็ว ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิก ฝึกชี่กง รำมวยจีน (ไท้เก๊ก) ฝึกโยคะ เป็นต้น
    2. นอนหลับให้เพียงพอ ประมาณ 6-8 ชั่วโมง การนอนหลับดีมีผลต่อการพัฒนาสมองหลีกเลี่ยงการอดนอนและการมีอารมณ์เครียดติดต่อกันนานๆ เพราะมีผลลบต่อร่างกาย สมองและจิตใจ
    3. บริโภคอาหารสุขภาพตามหลักธงโภชนาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดหวาน มัน เค็ม หันมากินปลา กินผักและผลไม้ให้มากๆ ไขมันโอเมก้า-3 ในปลา (เช่น ปลาดุก ปลาช่อน) มีผลดีต่อการสร้างเซลล์สมองใหม่
    4. หมั่นเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ โดยการอ่าน การฟัง การค้นคว้า การหาประสบการณ์ใหม่ๆ การคิดใคร่ครวญ การถาม การบันทึก ตามหลัก “สุ. จิ. ปุ. ลิ.” ควบคู่กับการฝึกใช้ความคิดเป็นประจำ
    5. ฝึกสมาธิ เช่น ฝึกอานาปานสติ สวดมนต์ ไหว้พระ เดินจงกรม ทำละหมาด อธิษฐานจิต วันละอย่างน้อย 1-2 ครั้ง นานครั้งละ 5-10 นาที ช่วยให้จิตใจมั่นคง สงบนิ่ง ไม่วอกแวก ฟุ้งซ่าน
    6. เจริญสติ - รู้ตัวกับอิริยาบถและกิจกรรมต่างๆ เช่น ระลึกรู้ตัวอยู่กับการนั่ง นอน ยืน เดิน การเคลื่อนไหวจังหวะขณะออกกำลังกายต่างๆ การทำกิจวัตรประจำวัน
    7. ฝึกใช้ลมหายใจเป็นระฆังแห่งสติ เราสามารถตามรู้ลมหายใจเข้า–ออก ในการทำอานาปานสติ ในการเจริญสติต่างๆ
    8. ฝึกพักใจและสมองเป็นระยะๆ ในแต่ละวัน เช่น หยุดคิด โดยหันมาชื่นชมธรรมชาติ (สายลม แสงแดด ก้อนเมฆ สายฝน สายน้ำ ตะวันขึ้น ตะวันตกดิน ต้นไม้ ดอกไม้) หรือศิลปกรรม (เช่น ภาพวาด ภาพถ่าย รูปปั้น แจกันดอกไม้) นานครั้งละ 30 วินาที ถึง 1 นาที
    9. เจริญปัญญาจากการสังเกตธรรมชาติของสรรพสิ่ง ว่าล้วนเกิดขึ้นด้วยเหตุปัจจัยมากมายที่มีการแปรเปลี่ยน ไม่คงที่ตลอดเวลา
    10. ฝึกคิดดี-พูดดี-ทำดี ให้เป็นนิสัย ช่วยถ่วงดุลกับธรรมชาติของจิตที่มักคิดลบซึ่งเป็นไปตามกลไกสมองที่มักถูกครอบงำด้วยความมีอัตตาตัวตน นิสัยความเคยชิมเดิม และอารมณ์ลบ

    5 ปี 33 สัปดาห์ ที่แล้ว
  • ชวนเพื่อนถูกใจเพจ "มูลนิธิหมอชาวบ้าน"
    แบ่งปันสาระสุขภาพ เพื่อการพึ่งตนเอง
    สุขที่ได้แบ่งปัน สุขที่ได้เรียนรู้ สุขที่ได้รู้จักเพื่อน
    ร่วมไลค์ ร่วมแชร์ได้ที่...เพจมูลนิธิหมอชาวบ้าน
    http://www.facebook.com/folkdoctorthailand

    5 ปี 33 สัปดาห์ ที่แล้ว
  • วิธีการดูแลสุขภาพหู
    หู เป็นอวัยวะสำคัญที่ช่วยให้เราได้ยินเสียงต่างๆ เพื่อการติดต่อสื่อสารพูดคุย นอกจากนี้ยังเป็นอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัวของร่างกายขณะเคลื่อนไหว เราจึงควรระมัดระวังดูแลรักษาหู เพื่อใช้หูอย่างมีประสิทธิภาพไปตลอดชีวิต วิธีการดูแลสุขภาพหู มีดังนี้

    1. การทำความสะอาดหูให้ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำบิดหมาด เช็ดบริเวณใบหู และรูหูเท่าที่นิ้วจะเข้าไปได้เท่านั้น
    2. ขี้หู อาจจะแห้งหรือเปียกหากมีจำนวนมากจะร่วงหรือไหลออกมาเอง จึงไม่จำเป็นต้องปั่น หรือแคะหู
    3. เมื่อเป็นหวัด เจ็บคอ ไม่ควรสั่งน้ำมูกแรงๆ หรืออุดจมูก ข้างใดข้างหนึ่งในขณะสั่งน้ำมูก เพราะจะทำให้เชื้อโรคใน คอและจมูกดันเขาสูงหูชั้นกลาง ทำให้เกิดการติดเชื้อเป็น โรคหูน้ำหนวกได้
    4. ผู้ที่มีอาการของโรคหวัดภูมิแพ้มักมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคหูชั้นกลางอักเสบจากการติดเชื้อแทรกซ้อน จึงควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการ
    5. ระวังอย่าให้หูได้รับการกระทบกระแทกแรงๆ เช่น การตบหูด้วยมือทั้ง 2 ข้าง เพราะจะทำให้เยื่อแก้วหูฉีกขาด หรือกระดูกหูหลุด จนเป็นเหตุทำให้การได้ยินลดลง
    6. หลีกเลี่ยงการตะโกนหรือทำเสียงดังใส่กัน รวมทั้งเลี่ยงแหล่งที่มีเสียงดังอึกทึก ควรได้รับการ ตรวจการได้ยินทุกๆ 6 เดือน
    7. ถ้ามีแมลงเข้าหู ห้ามแคะออก เพราะจะทำให้แมลงเข้า ไปในหูลึกยิ่งขึ้น ควรใช้น้ำสะอาดหรือน้ำมันที่ปลอดภัย เช่น น้ำมันมะกอกหยอดลงในรูหูทิ้งไว้สักครู่เพื่อให้แมลงตาย แล้วเอียงหูให้น้ำมันไหลออกมาพร้อมแมลง
    8. เมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับหู เช่น หูอื้อ ปวดหู คันหู มีน้ำหนองหรือเลือดไหลออกจากหู การฟังเสียงลดลง ควรรับการตรวจจากแพทย์ หู คอ จมูก

    (เครดิต : คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล)

    5 ปี 33 สัปดาห์ ที่แล้ว