แพทย์แผนจีน

  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 229 พฤษภาคม 2541
    คุณแม่พาลูกสาวมาพบแพทย์จีนด้วยปัญหาลูกสาวเป็นรังแคและคันศีรษะบ่อยๆ ใช้ยาสระผมมาหลายยี่ห้อก็ไม่ค่อยดีขึ้น หลังจากตรวจร่างกายและจับชีพจร รวมทั้งถามประวัติอาการละเอียดแล้ว พบว่าเด็กมีเหงื่อออกมาก โดยเฉพาะเวลานอนกลางคืนบริเวณศีรษะ จึงให้การรักษาด้วยยาบำรุงไตยิน แนะนำการทำความสะอาดเส้นผม การกินอาหาร หลังจากนั้นไม่นานเหงื่อบริเวณศีรษะก็ออกน้อยลง ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 228 เมษายน 2541
    ประจำเดือนหน้าต่างสุขภาพ“มีความเชื่อกันว่า สุขภาพของผู้หญิงดีไม่ดี สามารถดูได้จากความผิดปกติของประจำเดือน”“ผู้หญิงคลอดลูกมา ๑ คน สุขภาพจะทรุดโทรมไป บางคนพอมีลูก ๒-๓ คน ก็ดูแก่ไปถนัดตา”“เมื่อเข้าสู่วัยทองของชีวิต (วัยหมดประจำเดือน) จะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจอย่างมากโดยเฉพาะในคนที่มีพื้นฐานสุขภาพไม่ดี”แพทย์แผนจีนได้กล่าวถึงโรคของผู้หญิง แบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน ๔ ประเภท ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 227 มีนาคม 2541
    เกลือจึ้มเกลือ อารมณ์ควบคุมอารมณ์ในทางการแพทย์สมัยใหม่เชื่อว่า การตอบสนองของอารมณ์ เป็นปรากฏการณ์ชั่วขณะที่เกิดขึ้นจากระบบประสาท และสามารถถูกแทนที่ด้วยอารมณ์อื่นได้ นี้คือหลักเบื้องต้นของที่มา ของเทคนิคการใช้อารมณ์พิชิตอารมณ์ เป็นการสร้างสมดุลของอารมณ์ที่เกิดจากภาวะมากเกินไป นำไปสู่การเสียสมดุลของปัญจธาตุต่างๆของร่างกาย ตำราคัมภีร์ซู่เวิ่นของจีน ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 225 มกราคม 2541
    ดูโหวงเฮ้งจากสีสันของผู้ป่วย“คุณเป็นโรคระบบย่อยอาหารไม่ค่อยดีครับ” แพทย์จีนท่านหนึ่งพูดกับคนไข้ภายหลังจากได้ตรวจร่างกายผู้ป่วยด้วยเครื่องตรวจพื้นฐาน คือ อวัยวะสัมผัสของร่างกาย ตา จมูก ปาก หู ผิวหนัง (สัมผัส) โดยยังไม่ต้องให้ผู้ป่วยได้บอกถึงปัญหาที่มาหา ในทำนองเดียวกัน ผู้อ่านคงเคยได้ยินบ่อย ๆที่แพทย์จีนมักจะทักทายคนไข้ว่า“คุณเป็นโรคไต ไตไม่แข็งแรง ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 224 ธันวาคม 2540
    อาหารแสลง : ต้องห้ามเรามักได้ยินคนเฒ่าคนแก่พูดถึงข้อห้ามมากมายเกี่ยวกับการกินและข้อควรปฏิบัติ เช่น คนที่ร้อนในง่ายห้ามกินของร้อน (คุณสมบัติหยาง) ของทอดๆ มันๆ ของเผ็ด เช่น- กินทุเรียนแล้วห้ามกินเหล้า- กินทุเรียนแล้วควรกินมังคุดหรือกินน้ำเกลือตาม- กินลำไยมากระวังตาจะแฉะ- เวลาเริ่มเป็นหวัด เจ็บคอ ควรกินพวกยาขม- เวลาร้อนใน ให้กินน้ำจับเลี้ยง หรือกินน้ำเก๊กฮวย- หญิงปวดประจำเดือนห้ามกินของเย็น ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 223 พฤศจิกายน 2540
    กินให้มีผลต่อสุขภาพไม่กินอาหารที่ผิดสุขลักษณะ โบราณกล่าวว่า “โรคเกิดจากช่องทวารปาก” ซึ่งมีความหมายหลายนัยด้วยกัน๑. กินอาหารที่ไม่สะอาดอาหารที่ไม่สะอาดทำให้มีเชื้อโรค พยาธิ สารพิษ เข้าสู่ร่างกาย เกิดอาการปวดท้องแน่นท้อง อาเจียน เป็นบิด มีพยาธิ อาหารที่เน่าเหม็น ทำให้เกิดการหมักหมม มีพิษสะสม เกิดอาการต่างๆ ตามมามากมาย๒. เวลาและปริมาณที่กินไม่เหมาะสมหลักการเลือกปริมาณการกิน คือ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 222 ตุลาคม 2540
    รสชาติกับสุขภาพอาหารเป็นบำรุงเลี้ยงร่างกาย อาหารที่กินเข้าไปในร่างกายต้องอาศัยระบบการย่อย ดูดซึมและส่งลำเลียงไปเลี้ยงอวัยวะและส่วนต่างๆของร่างกาย (แพทย์แผนจีน หมายถึง กระเพาะอาหารและม้าม) การกินอย่างมีศาสตร์และศิลป์โดยคำนึงถึงลักษณะอาหาร วิธีการกิน และหลักการทะนุถนอม ระบบการย่อย (กระเพาะอาหารม้าม) จึงเป็นพื้นฐานสำคัญของการทำให้เกิดเลือดลมที่ดี ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 221 กันยายน 2540
    อาหารกับยาสมุนไพร เพื่อสุขภาพเราคุ้นเคยเกี่ยวกับการกินอาหารให้ครบ ๕ หมู่ คือ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน เกลือแร่ และวิตามิน ในปริมาณและสัดส่วนที่พอเหมาะ เพื่อให้มีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์ ทัศนะเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ ที่จะพยายามวิเคราะห์แยกแยะส่วนประกอบระดับโมเลกุล ชีวเคมี ระดับพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 220 สิงหาคม 2540
    ฤดูกาลกับการปฏิบัติตัว เพื่อให้เกิดสมดุลได้กล่าวถึงธรรมชาติมีผลกระทบต่อสุขภาพคนที่จะมีสุขภาพดี ต้องเรียนรู้ธรรมชาติ และดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ คนจีนโบราณเขามีหลักในการปฏิบัติตัวให้สอดคล้องกับฤดูกาลอย่างไร? ลองติดตามดูซิครับประเทศจีนนั้นโดยทั่วไปจะมีฤดูกาลอยู่ ๔ ฤดู โดยแต่ละฤดู มีระยะเวลา ๓ เดือน แต่ละฤดูมีลักษณะแปรเปลี่ยนของอากาศ คือ ฤดูใบไม้ผลิ อากาศอบอุ่น, ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 219 กรกฎาคม 2540
    นาฬิกาชีวิต : พลังชีวิต(ลมปราณ)ฉบับที่แล้วผู้เขียนได้กล่าวถึง การแพทย์จีนถือว่ากลางวันและกลางคืนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพของมนุษย์อย่างแยกไม่ออก ครั้งนี้จึงขอกล่าวเพิ่มเติมว่า การแพทย์จีนยังมองลึกลงไปอีกว่า ช่วงเวลา ๒๔ ชั่วโมงใน ๑ วันนั้น ภายในร่างกายของมนุษย์ยังมีการไหลเวียนของพลังชีวิต (ลมปราณ) ที่ผ่านมาอวัยวะภายในของร่างกาย จีนเรียกว่า “จั้ง-ฝู่ ...