การดูแลผู้สูงอายุ

  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 130 กุมภาพันธ์ 2533
    การออกกำลังเพื่อการทรงตัวในการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ของคนเรา ไม่ว่าจะอยู่ในท่านั่ง นอน ยืน หรือเดิน จำเป็นต้องอาศัยการทรงตัว เพื่อไม่ให้ตัวเราเสียหลักหรือล้มลง การที่คนเราสามารถทรงตัวอยู่ได้ เนื่องจากมีการประสานงานระหว่างสมอง อวัยวะทรงตัวในหู การมองเห็น และการตอบสนองแบบเฉียบพลันของข้อต่อและกล้ามเนื้อในคนสูงอายุ ประสิทธิภาพในการทำงานของโครงสร้างดังกล่าวจะลดลง หรือสูญเสียหน้าที่ไป เช่น ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 129 มกราคม 2533
    ทำอย่างไรจึงไม่หกล้มมีคำพังเพยของจีนกล่าวว่า “เด็กๆ ที่หกล้มบ่อยจะเติบโตเร็ว แต่ถ้าผู้สูงอายุหกล้มอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้”เรื่องหกล้มจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผู้สูงอายุ ผลจากการหกล้มทำให้ผิวหนังเขียวช้ำ หลอดเลือดและกล้ามเนื้อฉีกขาด ข้อต่อแพลง และที่ร้ายแรงคือ กระดูกหัก ยิ่งในกรณีที่ศีรษะกระแทกพื้น อาจทำให้กระทบกระเทือนต่อสมองได้มีการเข้าใจผิดคิดว่า ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 128 ธันวาคม 2532
    ขึ้นลงบันไดกับข้อเข่าเสื่อมตอนรับเชิญไปบรรยายในงานปัจฉิมนิเทศครั้งหนึ่ง หลังจากได้แนะนำวิธีการออกกำลังกายเพื่อชะลอความชราแล้ว มีคำถามจากผู้ฟังท่านหนึ่งว่า การขึ้นลงบันไดเป็นการออกกำลังกายที่ดีสำหรับผู้ที่เข้าสูวัย 60 หรือไม่ตั้งแต่มนุษย์เริ่มรู้จักสร้างบ้าน ไม่ว่าจะเป็นบ้านทรงไทยมุงใบจากที่ยกขึ้นจากพื้น ซึ่งต้องปีน “บันได” ขึ้นไป หรือบ้าน 2 ชั้นตลอด พัฒนาจนเป็นตึกแถวหลายชั้น ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 124 สิงหาคม 2532
    วิธีป้องกันข้อต่อเสื่อมเมื่ออายุพ้น 40 ปีขึ้นไป เรามักเริ่มรู้สึกปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และเจ็บปวดข้อต่อ สาเหตุที่สำคัญของอาการเหล่านี้ คือ ข้อต่อเริ่มเสื่อม ข้อต่อที่พบว่า เสื่อมเร็วกว่าปกติมักจะเป็นข้อต่อที่ใช้งานน้อยเกินไปหรือใช้งานมากเกินไป ได้แก่ ข้อต่อที่บริเวณคอ บั้นเอว ข้อไหล่ ข้อเข่า และข้อต่อของเท้าในช่วงที่เริ่มแรก อาการเจ็บปวดอาจเกิดขึ้นไม่นานนักก็หายไป และนานๆ เกิดขึ้นครั้งหนึ่ง ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 123 กรกฎาคม 2532
    ภาวะกระดูกผุในคนชรากระดูกของคนเราไม่ใช่ส่วนที่ตายแล้วอย่างที่บางคนคิด แต่เป็นส่วนที่มีชีวิต ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เมื่อเกิดการสูญเสีย (ผุกร่อน) ของกระดูก เราเรียกว่า “ภาวะกระดูกผุ” ส่วนใหญ่เมื่อคนเราเข้าสู่วัยกลางคน กระดูกจะเริ่มเล็กและบางลง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับทั้งหญิงและชาย เมื่อกระดูกบางลง ภาวะกระดูกผุจึงเริ่มขึ้น ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 123 กรกฎาคม 2532
    วิธีทำให้ข้อกระดูกเสื่อมช้าลงเมื่อก้าวเข้าสู่วัยกลางคน ก็มักจะเกิดปัญหาของข้อกระดูกหลังเสื่อม ตั้งแต่กระดูกช่วงคอ กระดูกช่วงอก จรดกระดูกบั้นเอว ตลอดจนข้อต่อของแขนขา สัญญาณที่ข้อต่อของกระดูกเริ่มเสื่อม คือ อาการปวดข้อซึ่งเริ่มปรากฏชัดขึ้นและบ่อยครั้งขึ้น การที่ข้อต่อเริ่มเสื่อมในอายุ 40 ปีขึ้นไปนั้น ความจริงเป็นกฎธรรมชาติเช่นเดียวกับสัจธรรมที่ตราบใดมีสิ่งมีชีวิต ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 121 พฤษภาคม 2532
    ช่วยกันหยุดทารุณผู้สูงอายุบ่อยครั้งที่มีข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ถึงคนแก่ถูกทำร้าย ปล้นฆ่า โดยกลุ่มโจรที่หวังทรัพย์สินเงินทอง แต่ข่าวโจรปล้นเป็นเรื่องของอาชญากรรมที่เกิดกับคนทุกเพศทุกวัยอยู่แล้ว ยังมีเรื่องของการทารุณร่างกายและจิตใจที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของคนแก่อีก โดยเฉพาะคนแก่ที่เจ็บป่วยช่วยตัวเองไม่ได้ (ทั้งๆ ที่อยู่ในบ้านเรือนของตนเอง) แต่ไม่ค่อยมีข่าวให้รู้เห็น ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 116 ธันวาคม 2531
    โภชนาการ หมายถึง อาหารที่เข้าสู่ร่างกายมนุษย์ แล้วร่างกายสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ในด้านการเจริญเติบโต การค้ำจุน และการซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนั้นการได้อาหารที่เพียงพอและถูกสัดส่วน จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดของมนุษย์ เพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรงคอลัมน์ “กินถูก...ถูก...” ได้รับความร่วมมือจากสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ฉบับนี้เสนอเรื่อง ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 113 กันยายน 2531
    นายแพทย์วิวัฒน์ ยถาภูธานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิต ชัยนาท ขอร้องลูกหลานอย่าปล่อยให้คุณย่าคุณยายต้องใช้ชีวิตโดยลำพัง เพราะเหมือนกับซ้ำเติมเพิ่มอาการเจ็บป่วยไข้ให้กับผู้สูงอายุที่ขาดการเหลียวแลโดยปกติเมื่อคนเราอายุเข้าวัย 60 หรือก่อนหน้านี้เล็กน้อย ถือว่าเป็นวัยสูงอายุ ความเสื่อมโทรมจะเข้ามาเยี่ยมกรายหลายประการ โดยเฉพาะสมอง ซึ่งมักจะเหี่ยวแห้งลีบเล็กไปตามกาลเวลา และอาการที่ตามมาติด ๆ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 109 พฤษภาคม 2531
    การเริ่มต้นที่ดีควรเริ่มด้วยการตัวภารกิจหรืออาการฟุ้งซ่านรำคาญใจออกจากจิตใจ เพราะการบริหารร่างกายขณะที่มีจิตใจฟุ้งซ่านอยู่นั้น จะทำให้การบริหารร่างกายไม่สมบูรณ์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เช่น ทำด้วยความหลงลืม เหนื่อยง่าย ในที่สุดอาจเบื่อหน่ายและเลิกราไป ในการบริหารร่างกายนั้น ควรบริหารร่างกายโดยเริ่มต้นอย่างช้า ๆ และให้หยุดทำทันที ถ้าท่านรู้สึกว่ามีอาการไม่สบายหรือผิดปกติ ให้กำลังใจกับตัวท่านเอง ...