คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์

  • "เมืองไทย ใครๆ ก็รัก"
    สถานที่ : ภูผาหมอก บ้านจ่าโบ่ ต.ปางมะผ้า อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน

    เพจมูลนิธิหมอชาวบ้าน เชิญชวนแฟนคลับทุกท่านร่วมส่งภาพประทับใจ สถานที่ แหล่งท่องเที่ยว สถานที่ประทับใจ วิวทิวทัศน์ ในหัวข้อ "เมืองไทย ใครๆ ก็รัก" พร้อมระบุชื่อเรื่อง สถานที่ที่ตั้ง อำเภอ จังหวัด ส่งได้ไม่จำกัดแนว ไม่จำกัดจำนวน ทั้งนี้ควรเป็นภาพที่ถ่ายด้วยตนเอง ไม่มีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ภาพ หรือเจ้าของภาพอนุญาตให้เผยแพร่ได้ ร่วมส่งได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เพื่อร่วมบอกเล่าเรื่องราวความประทับใจ ความรู้สึกต่อเมืองไทยเรา

    6 ปี 10 สัปดาห์ ที่แล้ว
  • ฟักทอง : ลดน้ำตาลในเลือด
    มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มากด้วยสารสำคัญที่ดีต่อร่างกาย ทั้งวิตามินเอ บี ซี ฟอสฟอรัส บีตาแคโรทีน แต่ให้พลังงานต่ำ เหมาะแก่ผู้ที่ต้องควบคุมอาหาร สรรพคุณทางยา ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยลดความดัน ลดคอเลสเตอรอลสูง บรรเทาต่อมลูกหมากโต โรคปวดข้อเข่า มะเร็งกระเพาะอาหาร เต้านม ปอด และลำไส้ใหญ่ ช่วยรักษาความชุ่มชื้น และซ่อมแซมผิว ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวพรรณสดใส ลดหน้าท้องลาย ช่วยขับน้ำนม บำรุงตับ ไต ปรับสมดุลในร่างกาย (เครดิตภาพ : ปลายแป้นพิมพ์)

    ** สมุนไพรใกล้ตัว มุ่งเสนอสรรพคุณทางยา การนำไปใช้ควรพิจารณาอย่างรอบด้าน **

    6 ปี 10 สัปดาห์ ที่แล้ว
  • ดำเนินชีวิตด้วยสติ ชีวิตมีความสุข
    มูลนิธิหมอชาวบ้าน ขอเชิญเข้าร่วมอบรม ในหัวข้อเรื่อง “ดำเนินชีวิตด้วยสติ ชีวิตมีความสุข” โดยโดย รศ.นพ.ชัชวาลย์ ศิลปกิจ จิตแพทย์ผู้เขี่ยวชาญจิตตปัญญาศึกษา วันเสาร์ที่ 15 กันยายน 2561 เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ ชั้น 2 ห้อง 201 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซอยงามดูพลี ถนนพระราม 4 กทม.

    สมัครเข้าอบรมไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ รับจำนวนจำกัดเพียง 200 ท่าน โดยส่ง ชื่อ นามสกุล อายุ และเบอร์โทรส่งมาที่ E-mail : [email protected] หรือส่ง SMS มาที่เบอร์ 094-095-1635 ไลน์ : Folkdoctor, Facebook : มูลนิธิหมอชาวบ้าน, www.doctor.or.th จัดโดยโครงการจัดอบรมสุขภาวะเพื่อประชาชน มูลนิธิหมอชาวบ้าน

    6 ปี 10 สัปดาห์ ที่แล้ว
  • ผัดยอดมะระ
    เมนูผัดยอดมะระหรือผัดยอดฟักแม้วไม่ค่อยมีขายตามร้านข้าวแกง ดังนั้นถ้าอยากกินก็ต้องทำเองแล้วล่ะ จับผักผัดกับกระเทียมและพริก ปรุงรสเค็มนิดหน่อย กินกับข้าวสวยหรือข้าวต้มก็อร่อย

    ส่วนผสม ผัดยอดมะระ : ยอดฟักแม้ว (ยอดมะระ), พริกชี้ฟ้าแดง ทุบพอแตก ปริมาณตามชอบ, กระเทียมสับ 1 ช้อนโต๊ะ, น้ำมันหอย, ซีอิ๊วขาว, น้ำตาลทราย, น้ำมันพืชสำหรับผัด 1 ช้อนโต๊ะ

    วิธีทำผัดยอดมะระ
    1. ล้างยอดฟักแม้วให้สะอาด เด็ดเอาเฉพาะยอดอ่อน ใส่กะละมังหรือจาน เตรียมไว้
    2. ใส่พริก และกระเทียมสับลงในกะละมังยอดฟักแม้วที่เด็ดเตรียมไว้ ตามด้วยน้ำมันหอย ซีอิ๊วขาว น้ำตาลทราย และน้ำเปล่าเล็กน้อย เตรียมไว้
    3. ใส่น้ำมันพืชลงในกระทะ นำขึ้นตั้งไฟแรง พอน้ำมันร้อนเทส่วนผสมลงผัด รีบผัดจนผักสุก ตักใส่จาน พร้อมเสิร์ฟ

    (เครดิตภาพ/ข้อมูล : kapook)

    6 ปี 10 สัปดาห์ ที่แล้ว
  • ช้ยานอนหลับมาก เสี่ยงสมองแย่ลง
    การนอนหลับเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด แต่หากเมื่อใดที่เรามีอาการนอนไม่หลับย่อมมี 2 สาเหตุ ได้แก่ ความเครียดทางกาย เช่น ร่างกายมีความเจ็บปวดอาทิ ปวดท้อง ปวดฟัน และความเครียดทางจิตใจ เช่น มีเรื่องที่ต้องคิด มีเรื่องทำให้กังวลใจ หรือเกิดภาวะซึมเศร้า

    ยานอนหลับ จึงมีประโยชน์ที่จะช่วยให้เรานอนหลับพักผ่อน เมื่อร่างกายนอนหลับเต็มที่ตื่นขึ้นมาก็จะสดชื่น คลายเครียด ในผู้สูงอายุบางท่านมีความจำเป็นต้องใช้ยานอนหลับ เพราะด้วยวัย และความเปลี่ยนแปลงทางสมอง ส่งผลให้นอนหลับยาก แพทย์จึงต้องสั่งยานอนหลับตัวที่เหมาะสม และให้ขนาดที่เหมาะสมจึงช่วยได้

    การให้ผู้ป่วยได้รับประทานยานอนหลับ เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ดังนั้นหมอควรจะแนะนำคนไข้ก่อนเสมอว่า ให้ลองแก้ปัญหาที่ต้นเหตุก่อน เช่น ถ้ามีอาการปวด ให้หาสาเหตุก่อนว่า ปวดเพราะอะไร หรือหากมีเรื่องเครียด คิดไม่ตก กังวลไปต่างๆ นานา ควรแก้ไขที่ตนเองก่อน อย่าเพิ่งให้รีบกินยานอนหลับ เพื่อกลบปัญหาไปวันๆ

    การแก้ไขอาการนอนไม่หลับ สามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ เคลียร์ปัญหาให้จบ ไปออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมผ่อนคลายความเครียด อาทิ ดูหนัง ฟังเพลง สวดมนต์ ไหว้พระ ทำสมาธิ แต่ถ้าทำทุกอย่างแล้ว ยังปรับตัวไม่ได้ ก็ให้มาพบแพทย์ เพื่อประเมินปัญหาการนอนไม่หลับ หรือจะพบจิตแพทย์ก็ได้ ถ้าทุกข์ใจจนแก้ที่ต้นเหตุยาก หรือต้องใช้เวลาในการแก้ไขนาน

    ยานอนหลับ เป็นยาควบคุมไม่มีจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป หากเราไปซื้อมาใช้เองโดยไม่มีแพทย์ ให้คำแนะนำก็จะเป็นอันตรายได้ เพราะการใช้ยานอนหลับทุกวัน อาจมีผลเสียทำให้ต้องใช้ยาในปริมาณที่มากขึ้นๆ เมื่อใช้ในปริมาณที่สูงขึ้นๆ จะทำให้สมองทนต่อยา ต้องเพิ่มขนาดขึ้นเรื่อยๆ การใช้ยานี้จึงกลายเป็นการเสพติด

    นอกจากจะไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาแล้วยังเพิ่มปัญหาทางสุขภาพอีกด้วย คือ จะทำให้สมองทำงานแย่ลง ความจำไม่ดี หงุดหงิดฉุนเฉียวเมื่อขาดยา แต่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการปรึกษาแพทย์

    6 ปี 10 สัปดาห์ ที่แล้ว
  • "เมืองไทย ใครๆ ก็รัก"
    สถานที่ : วัดอุโมงค์ สวนพุทธรรม จ.เชียงใหม่

    เพจมูลนิธิหมอชาวบ้าน เชิญชวนแฟนคลับทุกท่านร่วมส่งภาพประทับใจ สถานที่ แหล่งท่องเที่ยว สถานที่ประทับใจ วิวทิวทัศน์ ในหัวข้อ "เมืองไทย ใครๆ ก็รัก" พร้อมระบุชื่อเรื่อง สถานที่ที่ตั้ง อำเภอ จังหวัด ส่งได้ไม่จำกัดแนว ไม่จำกัดจำนวน ทั้งนี้ควรเป็นภาพที่ถ่ายด้วยตนเอง ไม่มีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ภาพ หรือเจ้าของภาพอนุญาตให้เผยแพร่ได้ ร่วมส่งได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เพื่อร่วมบอกเล่าเรื่องราวความประทับใจ ความรู้สึกต่อเมืองไทยเรา

    6 ปี 10 สัปดาห์ ที่แล้ว
  • ลดเสี่ยงติดเชื้อโรคจากห้องน้ำสาธารณะ
    การจะหลีกเลี่ยงไม่ใช้ห้องน้ำ สาธารณะเลยก็เป็นเรื่องลำบาก เพราะคนทำงานส่วนใหญ่ต้องใช้ชีวิตอยู่ที่ออฟฟิศหรืออยู่นอกบ้านวันละไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมง เพื่อให้คุณเข้าห้องน้ำได้อย่างสบายใจและปลอดภัย จึงมีเทคนิคการเข้าห้องน้ำสาธารณะมาฝากกัน

    1. เลือกห้องน้ำที่ไม่ค่อยมีคนใช้ ซึ่งมักจะเป็นห้องน้ำที่ไม่ได้อยู่ในแหล่งพลุกพล่าน เช่น ห้องน้ำในออฟฟิศชั้นที่มีพนักงานน้อย ๆ เป็นต้น
    2. เลือกห้องน้ำที่โถชักโครกดูสะอาดที่สุด หลีกเลี่ยงฝารองนั่งที่เปียกชื้น และห้องที่ยังเห็นสิ่งปฏิกูลของผู้อื่นค้างอยู่ รวมถึงห้องที่มองเห็นผ้าอนามัยที่ไม่ได้ห่อทิ้งให้เรียบร้อย หรือไม่ได้อยู่ในถังที่มีฝาปิด
    3. ใช้กระดาษชำระจับลูกบิดหรือกลอนประตูก่อนเปิด เพราะลูกบิดหรือกลอนจากด้านในห้องน้ำมักจะสกปรกกว่าเปิดจากด้านนอกห้องน้ำ เมื่อออกมาแล้วควรทิ้งกระดาษชำระชิ้นที่ใช้เปิดลูกบิดประตู ไม่ควรนำมาเช็ดมือต่อ
    4. เมื่อทำธุระเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรปิดฝาก่อนกดชักโครก เพื่อลดการฟุ้งกระจายของเชื้อโรคในอากาศที่อาจเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้ แต่ถ้าไม่มีฝาปิด ก็ควรหันหน้าไปทางอื่น และรีบออกจากห้องน้ำ ที่สำคัญ ก่อนกดชักโครกควรนำกระดาษมารองที่ปุ่มชักโครกก่อนกดแล้วทิ้งลงถังขยะ
    5. ควรใช้แอลกอฮอล์แบบพกติดตัวฉีดฝารองนั่ง แล้วใช้กระดาษชำระเช็ดบริเวณฝารองนั่งให้สะอาดถึงแม้จะดูเหมือนสะอาดอยู่แล้วก็ตาม หรือ ใช้กระดาษชำระมารองก่อนนั่งก็ได้ แต่ถ้ายังกังวลไม่อยากให้ก้นสัมผัสกับฝารองนั่ง ก็ควรใช้วิธีย่อขาเหมือนกำลังจะนั่งยอง ยกก้นให้อยู่เหนือโถรองนั่งประมาณ 6 นิ้ว ควรถอดกางเกงลงมาแค่ระหว่างเข่ากับเท้า ระวังไม่ให้ลงมากองที่พื้นห้องน้ำ
    6. หลังเข้าห้องน้ำควรล้างมือทุกครั้ง โดยล้างให้ถูกต้องตามหลักวิธีการล้างมือที่ต้องล้างทุกนิ้ว ซอกนิ้ว ฝ่ามือ และหลังมือ แล้วเช็ดให้แห้งด้วยกระดาษที่เตรียมไว้ หรือถ้าเป็นผ้าเช็ดมือที่ดึงลงมาจากเครื่อง ควรดูให้แน่ใจก่อนใช้ว่าผ้านั้นสะอาด หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องเป่ามือแบบร้อน เพราะความร้อนและความชื้นจะทำให้เชื้อแบคทีเรียที่อยู่บนพื้นห้องน้ำเจริญ เติบโตได้ดีมาก
    7. สุดท้ายก่อนออกจากห้องน้ำควรใช้กระดาษเช็ดมือหมุนลูกบิดประตู เพราะคนที่ใช้ห้องน้ำก่อนหน้าคุณเขาอาจจะไม่ได้ล้างมือก็ได้

    การใช้กระดาษชำระจับลูกบิด กลอนประตู ปุ่มกดชักโครกอาจอาจฟังดูวุ่นวาย และถ้าไม่สะดวกอาจใช้วิธีล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังออกจากสุขา เพราะการขัดและถูด้วยสบู่ล้างมือด้วยวิธีที่ถูกต้อง สามารถทำให้เชื้อแบคทีเรียบนมือลดลงได้ และสามารถลดการติดเชื้อได้ถึงหนึ่งในสามของการเกิดโรคทีเดียว

    6 ปี 10 สัปดาห์ ที่แล้ว
  • ข้อเข่าเสื่อม : ไม่แก่ก็เป็นได้
    “โรคข้อเข่าเสื่อม” เกิดจากการใช้งานข้อต่อเนื่องยาวนานจนทำให้กระดูกอ่อน ผิวข้อสึกกร่อน ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดข้อขณะเคลื่อนไหว เข่าผิดรูปโก่งงอ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ปัจจุบันไม่ใช่เฉพาะคนแก่เท่านั้นที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม แต่วัยกลางคนก็เป็นได้ และพบเพิ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 45 ปี ก็เริ่มมีอุบัติการณ์ที่เป็นข้อเข่าเสื่อมสูงขึ้น

    สาเหตุของโรคเกิดจาก 2 หลักใหญ่ๆ
    1.แรงที่กระทำกับข้อเยอะเกินปกติและเป็นเวลานาน เช่น ในกลุ่มที่เป็นนักวิ่งมาราธอน จะพบว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นข้อเข่าเสื่อมในอนาคตจะสูงกว่าคนทั่วไปถึง 3 เท่าตัว
    2.กลุ่มที่มีพยาธิสภาพในข้อเข่า เช่น มีอุบัติเหตุมาก่อน อาจจะมีกระดูกหักหรือมีผิวกระดูกที่บาดเจ็บมาก่อน อย่างนักฟุตบอลที่เอ็นฉีกขาด ทำให้พยาธิสภาพในเข่าเปลี่ยนแปลงไปไม่สมดุล เสียความมั่นคง
    อีกปัจจัยก็คือ “โรคประจำตัว” เช่น พวกที่เป็นรูมาตอยด์ ข้ออักเสบอยู่บ่อยๆ ก็อาจจะทำให้ข้อเสื่อม สึกได้เร็วขึ้น ในกลุ่มคนอายุน้อยจะพบสาเหตุใหญ่ๆ ก็คือ เกิดอุบัติเหตุมาก่อน กระดูกหัก ทำให้แนวแกนขาเปลี่ยนไป อาจเป็นกระดูกหน้าแข้ง กระดูกต้นขาหัก หรือกระดูกตรงเข่าหัก ทำให้การรับแรงเปลี่ยนไปเกิดเสื่อมสึกได้

    อาการข้อเข่าเสื่อม
    อาการแรกจะเริ่มจากปวดเข่าบ่อยๆ แต่การปวดแบบนี้ก็มีหลายลักษณะหลายแบบ ปวดเวลาทำอะไร ส่วนมากข้อเข่าเสื่อมจะปวดตอนนั่งยอง นั่งคุกเข่า พับเพียบ จะเริ่มปวด หรือปวดตอนขึ้นลงบันได รู้สึกปวดมาก อยู่ท่านั้นนานๆ ไม่ไหว สัญญาณต่อมาคืออาจจะมีเข่าบวม เข่าอุ่น บวมร้อน เป็นสัญญาณบ่งบอกว่ามีการอักเสบตรงข้อเข่า ข้อเข่ามีปัญหา การแบ่งระยะสำหรับข้อเข่าเสื่อมจะใช้ภาพเอกซเรย์เป็นหลักในการบอก ซึ่งจะมีตั้งแต่ข้อเข่าปกติ ข้อเข่าเสื่อมระยะต้น หรือว่าเสื่อมเล็กน้อย เสื่อมปานกลาง แล้วก็รุนแรง

    การรักษา
    ในระยะต้นหรือระยะกลาง การรักษาเริ่มตั้งแต่ “การใช้ยา” และ “ไม่ใช้ยา” ไม่ใช้ยาก็ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม บางคนชอบนั่งเตี้ย นั่งยอง พับเพียบ คุกเข่า ก็เปลี่ยนมานั่งเก้าอี้แทน พยายามลดน้ำหนักในคนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน จะช่วยลดแรงกระทำในข้อเข่า ออกกำลังกายเพิ่มกล้ามเนื้อต้นขาให้แข็งแรง ช่วยรับน้ำหนักข้อเข่าให้ดีขึ้น กระชับขึ้น

    การบริหารกล้ามเนื้อตรงนี้ใช้วิธีการ ไม่ใช้แรงกระแทก อาจนั่งแล้วก็ยกขาธรรมดาเป็นท่าพื้นฐาน นั่งเก้าอี้พิงหลังสบายๆ ยกขาขึ้นขนานกับพื้นแล้วก็ค้างไว้ ใช้ข้อเข่าเป็นจุดหมุดสัก 10 วินาทีแล้วก็เอาลง จะยกคู่ทั้งสองข้างหรือสลับกันก็ได้ แต่ต้องทำอย่างน้อยวันละสัก 100 หรือ 200 ครั้ง ยิ่งทำได้เยอะๆก็จะยิ่งได้ผลดีกลับมา

    การออกกำลังกายแบบไม่กระแทก ที่เรียกว่าโลว์อิมแพ็ก เพื่อให้ได้ทั้งหัวใจ ปอด พัฒนาทั้งร่างกายของเรา เช่น ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน การเดินในน้ำ บางคนว่ายน้ำไม่เป็นก็ทำได้ เดิน วิ่ง ออกกำลังกายในน้ำ “น้ำเป็นตัวช่วยรับแรงกระแทกของเรา แล้วมีผลช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายได้ด้วย การออกกำลังกายในน้ำได้รับความนิยมในต่างประเทศมากในปัจจุบัน มีหลากหลายให้เลือก เต้นในน้ำก็มี”

    หลังจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรักษาโดยที่ไม่ใช้ยาแล้ว บางกรณี คุณหมออาจจะแนะนำในเรื่องของการใช้ยาร่วมด้วย ทำให้การปวดหายได้เร็วขึ้น กลับไปใช้ชีวิตปกติได้เร็วขึ้น ก็จะมียากิน ยาฉีด

    (เครดิตข้อมูล : โรงพยาบาลกรุงเทพ)

    6 ปี 10 สัปดาห์ ที่แล้ว
  • พลับพลึง : แก้เคล็ดขัดยอก
    พลับพลึงมีหลายสายพันธุ์ เช่น พลับพลึงด่าง พลับพลึงแดง พลับพลึงทอง พลับพลึงแมงมุม พลับพลึงเตือน พลับพลึงใหญ่ ฯลฯ ดอกพลับพลึงมีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี คนไทยพบเห็นต้นพลับพลึงอยู่เสมอ จึงนำมาเปรียบกับข้าวที่ออกรวงจวนจะแก่จัดว่าเป็น “ระยะพลับพลึง” คือใบยังเขียวอยู่ เมล็ดข้าว เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีครีม ยังไม่เป็นสีเหลือง ชาวนานิยมเกี่ยวข้าวระยะนี้

    สรรพคุณทางยา
    - ราก : ใช้ตำพอกแผล ใช้รักษาพิษยางน่อง
    - เหง้า : จะเป็นพิษ การระคายเคืองเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ ต้องระวัง
    - หัวใช้ : เป็นยาบำรุง ยาระบาย
    - ใบ : รสเอียน ประคบแก้เคล็ดยอก ขัดแพลง และถอนพิษได้ดี ต้มกินมากทำให้อาเจียนเป็นเสมหะ หมอพื้นบ้านนิยมนำใบพลับพลึงมาลนไฟให้ตายนึ่ง
    แล้วพันตามอวัยวะที่เคล็ดขัดยอกและบวม หรือหักแพลง ถอนพิษได้ดี แถบสุพรรณบุรีใช้ใบลนไฟ รักษาโรคไส้เลื่อนด้วย
    - กาบใบที่ประกอบเป็นลำต้น มีสีขาวอวบหนา นิยมนำมาทำกระทงใส่ธูปเทียนลอยในวันลอยกระทง
    - เมล็ด : เป็นยาบำรุง ยาระบาย ขับเลือดประจำเดือน และขับปัสสาวะ

    (เครดิตภาพ : priraya, ปะการังหอม)

    ** สมุนไพรใกล้ตัว มุ่งเสนอสรรพคุณทางยา การนำไปใช้ควรพิจารณาอย่างรอบด้าน **

    6 ปี 10 สัปดาห์ ที่แล้ว
  • ดำเนินชีวิตด้วยสติ ชีวิตมีความสุข
    มูลนิธิหมอชาวบ้าน ขอเชิญเข้าร่วมอบรม ในหัวข้อเรื่อง “ดำเนินชีวิตด้วยสติ ชีวิตมีความสุข” โดยโดย รศ.นพ.ชัชวาลย์ ศิลปกิจ จิตแพทย์ผู้เขี่ยวชาญ จิตตปัญญาศึกษา วันเสาร์ที่ 15 กันยายน 2561 เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ ชั้น 2 ห้อง 201 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซอยงามดูพลี ถนนพระราม 4 กทม.

    สมัครเข้าอบรมไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ รับจำนวนจำกัดเพียง 200 ท่าน โดยส่ง ชื่อ นามสกุล อายุ และเบอร์โทรส่งมาที่ E-mail : [email protected] หรือส่ง SMS มาที่เบอร์ 094-095-1635 ไลน์ : Folkdoctor, Facebook : มูลนิธิหมอชาวบ้าน, www.doctor.or.th จัดโดยโครงการจัดอบรมสุขภาวะเพื่อประชาชน มูลนิธิหมอชาวบ้าน

    6 ปี 10 สัปดาห์ ที่แล้ว