คลังความรู้สื่อสังคมออนไลน์

  • "ผลไม้พื้นบ้าน : ตะขบป่า"

    5 ปี 50 สัปดาห์ ที่แล้ว
  • บัวดิน
    ชื่ออื่นๆ : บัวสวรรค์ บัวจีน บัวฝรั่ง ฯลฯ ไม้ดอกไม้ประดับขนาดเล็ก ดอกรูปกรวย มีกลีบ 6 กลีบ ดอกหลากสี เช่น ขาว เหลือง เหลืองทอง ชมพู ส้ม ฯลฯ บัวดินชอบดินโปร่ง ร่วนซุย น้ำไม่ท่วมขัง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดหรือแยกหัว ออกดอกตลอดปี แต่ออกดอกมากช่วงหน้าฝน เหมาะที่จะปลูกประดับสวนหน้าบ้าน ริมทางเดิน แนวรั้ว รอบต้นไม้ใหญ่ ใช้พื้นที่ปลูกไม่มาก มีหลากหลายสีให้เลือก โรคแมลงไม่ค่อยมีรบกวน

    (เครดิตภาพ : ดอกปีป, Mai_ZaZa_ZuZu, UncleNeh, noinoinoy, เสิน)

    5 ปี 50 สัปดาห์ ที่แล้ว
  • วิถีบ้านเรา : กะทกรก
    ชื่อเรียกอื่นๆ เช่น ผักขี้หิด รุ้งนก เงาะป่า เถาสิงโต หญ้ารกช้าง ฯลฯ เป็นไม้เถาล้มลุก ลำต้นมีริ้วและขนสั้นนุ่มกระจาย มีขนต่อมยาวตามหูใบ ก้านใบ และแผ่นใบ นอกจากมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรที่หมอพื้นบ้านใช้รากแก้ความดันโลหิตสูง เถาและรากสด ต้มแก้ปัสสาวะขุ่นข้นแล้ว ส่วนของยอดอ่อน ผลอ่อน ยังใช้ทำเป็นอาหาร ผักจิ้มน้ำพริก หรือต้มแกงได้อร่อยไม่แพ้เมนูอาหารริมรั้วอื่นๆ เลย นอกจากนี้ผลสุกสีเหลืองก็ยังนำมากินได้ รสเปรี้ยวอมหวานอร่อยน่าลิ้มลอง

    (เครดิตภาพ : กิมหยง, ว่าที่ร.ต.สมโชคเฉตระการ)

    5 ปี 50 สัปดาห์ ที่แล้ว
  • "ชีวิตต้องสู้"

    5 ปี 50 สัปดาห์ ที่แล้ว
  • "กาลครั้งหนึ่ง"

    5 ปี 50 สัปดาห์ ที่แล้ว
  • จิ๊นส้มหมก
    จิ๊นส้ม หรือ แหนม ทำมาจากเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อควาย เรียกชื่อตามเนื้อสัตว์ เช่น จิ๊นส้มหมู จิ๊นส้มงัว จิ๊นส้มก้าง ปัจุจุบัน นิยมใช้เนื้อหมู บางแห่งเรียก หมูส้ม สามารถนำมารับประทานเป็นกับข้าว โดยนำไปย่างไฟทั้งห่อ เรียกว่า จิ๊นส้มหมก หรือนำไปปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น คั่วจิ๊นส้มใส่ไข่ เจียวผักปลัง และคั่วฟักเพกาอ่อน

    ส่วนผสม
    1.เนื้อหมูบด 1 กิโลกรัม 2.หนังหมู 100 กรัม 3.กระเทียม 20 กลีบ 4.เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ 5.ข้าวนึ่ง 1 ถ้วย

    วิธีการทำ
    1.โขลกกระเทียมและเกลือป่น และนำคลุกเคล้ากับหมูบด ใส่ข้าวนึ่ง คลุกเคล้าให้เข้ากัน ใส่หนังหมูลงคลุกเคล้าให้เข้ากัน เตรียมใบตอง 8 x 10 นิ้ว ซ้อนกัน 4 แผ่น นำส่วนผสมใส่ใบตอง ห่อใบตองให้แน่น แล้วห่อใบตองอีกหนึ่งชั้น ใช้ไม้กลัด กลัดใบตอง ทิ้งไว้ 2-3 วัน จึงนำมารับประทานหรือนำมาปรุงอาหารได้
    2.นำห่อจิ๊นส้มย่างไฟอ่อนๆ ให้สุกทั่ว

    เคล็ดลับในการปรุง/เลือกส่วนผสม
    เลือกเนื้อสันคอมาทำจิ๊นส้ม เพราะเนื้อนุ่มกว่าส่วนอื่นๆ

    (เครดิตข้อมูล/ภาพ : เว็บไซต์และฐานข้อมูลอาหารพื้นบ้านล้านนา)

    5 ปี 50 สัปดาห์ ที่แล้ว
  • แกงป่าปลาช่อนนา
    เป็นแกงที่ไม่ใส่กะทิ คำว่าแกงป่า ทำให้เรานึกถึงวิธีการปรุงที่ไม่ยุ่งยาก มีผัก มีสมุนไพรนานาชนิด เป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ สำหรับปลาช่อนที่ใช้ในการปรุงแกงป่าควรเป็นปลาช่อนจากแหล่งธรรมชาติมากกว่าปลาช่อนเลี้ยงเพราะจะได้รสชาติที่ดีกว่า เวลาพูดถึงแกงป่า เรามักจะนึกถึงอาหารอะไรที่ทำง่ายๆ เพราะมีการเล่ากันต่อมาว่า คนในอดีตเวลาเข้าป่าแล้วนึกอยากกินอะไร ก็ทำอะไรที่ง่ายๆ ก็คือตั้งหม้อแล้วหาพริก หาสมุนไพรที่มีอยู่หาได้ในป่า โยนลงไปในหม้อ

    แกงป่าจึงประกอบด้วยผักต่างๆหลากหลายชนิด อาหารชนิดนี้เมื่อกินก็จะได้ประโยชน์จากผักและสมุนไพรล้วนๆก็คือได้เส้นใยอาหารที่ช่วยในเรื่องของระบบขับถ่าย ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกายช่วยในการลดไขมัน หรือถ้าหากบางครั้งเราใช้ผักบางอย่างเช่น มะเขือเปราะ มะเขือพวงเข้าไปด้วย ก็สามารถช่วยลดน้ำตาลหรือทำให้น้ำตาลดูดซึมได้ช้าลง เหล่านี้ก็คือประโยชน์หลักๆ ของการบริโภคพืชผักสมุนไพรมากๆ ที่สำคัญหากไม่สามารถกินรสเผ็ด ก็อย่าปรุงให้เผ็ด เพราะถ้าหากร่างกายของเราไวต่อความเผ็ด มันอาจจะทำให้เกิดผลเสียก็คือ ทำให้เยื่อบุทางเดินอาหารระคายเคืองมาก ก็อาจจะเกิดอาการท้องเสีย อาหารที่กินเข้าไปแทนที่จะได้ประโยชน์ก็กลับมาเป็นโทษแทน

    ถึงแม้พริกจะมีประโยชน์มากก็ตาม แต่เรื่องความเผ็ดร้อนของพริกนั้น จะช่วยในเรื่องการขับเหงื่อ ช่วยเร่งการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ดังนั้น คนที่กินอาหารรสเผ็ดบ่อยๆ มากๆ ส่วนใหญ่ร่างกายจะเผาผลาญพลังงานได้ดี นอกจากนี้สารแคปไซซินที่อยู่ในพริกที่ให้รสเผ็ด ก็ยังมีรายงานว่าสามารถช่วยป้องกันโรคบางชนิด เช่น ลดการดูดซึมน้ำตาลได้ หรือช่วยป้องกันการอักเสบ

    (เครดิตข้อมูล/ภาพ : สถาบันโภชนาการ)

    5 ปี 50 สัปดาห์ ที่แล้ว
  • ข่า : ขับลม ขับเสมหะ
    คนไทยใช้ข่าปรุงอาหารมากกว่าชนชาติใดในโลก นอกจากใช้ส่วนช่อดอกของข่าเป็นผักจิ้มโดยตรงแล้ว ส่วนที่ใช้ปรุงอาหารคือเหง้าทั้งอ่อนและแก่ใช้ปรุงอาหารตำรับต่างๆ มีบทบาทช่วยดับกลิ่นของเนื้อและปลา ข่าอ่อนใช้ปรุงอาหารประเภทไก่ต้มข่า หรือต้มข่าทะเล หอมและอร่อยมากทีเดียว ตลอดจนเมนูอื่นๆ อีกมากมาย ถือเป็นเสาหลักของครัวไทยอย่างหนึ่งที่จะขาดเสียมิได้

    สรรพคุณ เหง้ากินเป็นยาขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับเสมหะ ขับเหงื่อ แก้บิด เป็นยาระบาย แก้ปวดท้อง ฯลฯ ใช้ภายนอก ทาแก้กลากเกลื้อน ลมพิษ

    วิธีใช้
    1.แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้อง ใช้ขนาดเท่ากับหัวแม่มือ (สด ประมาณ 5 กรัม แห้งประมาณ 2 กรัม) ทุบให้แตกต้มเอาน้ำดื่ม
    2.ใช้รักษาโรคผิวหนัง (เกลื้อน) ใช้เหง้าสดฝนกับเหล้าหรือน้ำส้มสายชู หรือตำแล้วแช่แอลกอฮอล์
    3.ใช้แก้ลมพิษ โดยนำหัวข่าล้างน้ำให้สะอาดตำผสมกับเหล้า ทาบริเวณที่เป็นลมพิษ จะทำให้เย็นและหายคันภายในเวลาอันรวดเร็ว

    ** สมุนไพรใกล้ตัว มุ่งเสนอสรรพคุณทางยา การนำไปใช้ควรพิจารณาอย่างรอบด้าน **

    5 ปี 50 สัปดาห์ ที่แล้ว
  • กิน “ข้าวกล้อง” เป็นยา
    การที่ข้าวเปลือกถูกขัดสี ทำให้สูญเสียสารอาหารไปเป็นจำนวนไม่น้อย ยิ่งขัดสีเป็นข้าวขาวหลายครั้งเท่าไร สารอาหารยิ่งเหลือน้อยลงไป การหันกลับมากินข้าวกล้อง เหมือนบรรพบุรุษของเรา จึงเป็นวิถีชีวิตที่ถูกต้อง ช่วยไม่ให้เป็นโรคอันไม่ควรจะเป็น เนื่องจากขาดสารอาหาร

    วิธีหุงข้าวกล้อง
    1. ก่อนซาวข้าวควรเก็บสิ่งแปลกปลอมออกเสียก่อน และซาวข้าวเบาๆ ด้วยเวลาสั้นๆ เพียงครั้งเดียว เพื่อไม่ให้วิตามินสูญเสียไปกับน้ำซาวข้าว
    2. การหุงข้าวกล้องนั้น ต้องใส่น้ำมากกว่าหุงข้าวขาว การหุงข้าวกล้อง 1 ส่วนจึงควรเติมน้ำประมาณ 2-3 เท่า ถ้าจะให้ประหยัดเวลาหุง ควรแช่ข้าวกล้องก่อนประมาณครึ่งชั่วโมง วิธีนี้อาจทำให้สูญเสียวิตามินบางอย่างที่ละลายน้ำไปบ้าง แต่ไม่แนะนำให้แช่ข้าวเป็นเวลานานๆ โดยเฉพาะข้าวที่มีสี แต่ถ้าจำเป็นต้องแช่ข้าว แนะนำให้ใช้น้ำที่แช่ข้าวนำกลับไปใช้ในการหุ้ง เพื่อลดการสูญเสียสารต้านอนุมูลอิสระในข้าว โดยเฉพาะข้าวสี
    3. สำหรับข้าวใหม่หรือข้าวเก่านั้น จะมีผลต่อการหุงต้มเช่นกัน เพราะข้าวใหม่เมื่อหุงสุกจะมีลักษณะเมล็ดข้าวติดกันมาก ส่วนข้าวเก่าเมื่อหุงสุกการติดกันของเมล็ดข้าวจะน้อย เนื่องจากข้าวเก่าเมล็ดข้าวจะแห้งกว่าข้าวใหม่

    เหตุนี้จึงทำให้บางท่านหุงข้าวแล้วบอกว่าใช้น้ำมากเท่าเดิมทำไมข้าวจึงแฉะหรือร่วน ซึ่งก็ต้องถามผู้ขายว่า เป็นข้าวเก่าหรือข้าวใหม่ ส่วนจะให้แฉะหรือร่วนแล้วแต่จะชอบ ผู้หุงข้าวจึงต้องใส่น้ำให้เหมาะสมหรือต้องใช้ศิลปะในการหุงเช่นกัน

    ฝึกกินข้าวกล้อง
    1. คนที่เพิ่งหัดกินข้าวกล้อง อาจใช้วิธีง่ายๆ คือนำข้าวกล้องผสมกับข้าวขาวในอัตราส่วน 1 : 2 โดยแช่ข้าวกล้องก่อนนำไปหุงรวมกับข้าวขาว เพื่อจะได้สุกพร้อมๆ กัน และค่อยๆ เพิ่มปริมาณข้าวกล้อง จนเปลี่ยนเป็นข้าวกล้องทั้งหมด ท่านก็จะกินข้าวที่ได้คุณค่าอาหารอย่างเต็มที่
    2. การกินข้าวกล้องก็คือควรกินขณะยังอุ่นๆ โดยทั่วไป พอข้าวสุก ทิ้งไว้ให้ข้าวระอุประมาณ 5-10 นาทีแล้วควรรีบกิน ข้าวจะนุ่มกินได้ง่าย และให้ค่อยๆ เคี้ยวพอละเอียด จะได้รสชาติหวานอร่อยของข้าวกล้อง
    3. ควรกินข้าวกล้องที่สุกแล้วให้หมดในมื้ออาหารนั้น เพราะข้าวกล้องบูดเสียได้ง่ายกว่าข้าวขาวทั่วๆ ไป

    5 ปี 50 สัปดาห์ ที่แล้ว
  • ทัวร์อวัยวะ ตอน อ้วนลงพุง คืออะไร
    https://www.youtube.com/watch?v=X18I_PkYCaA

    5 ปี 50 สัปดาห์ ที่แล้ว