อารมณ์

  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 317 กันยายน 2548
    บนเส้นทางหนังสือ(๘)"การเข้าใจเรื่องทุกข์มีความสำคัญ" ท่านทะไล ลามะ อธิบาย"เพราะมีทางที่จะเป็นอิสระจากทุกข์ โดยขจัดเหตุแห่งทุกข์ มนุษย์สามารถประสบอิสรภาพได้ สภาวะที่ไม่มีทุกข์ หลักทางพุทธนั้นสาเหตุของทุกข์คือ โลภ โกรธ หลง เป็นยาพิษทางจิตใจทั้งสาม คำว่า โง่ หรืออวิชชาในทางพุทธนั้น มีความหมายจำเพาะ ไม่ได้หมายถึงการขาดข้อความรู้ แต่หมายถึงการเห็นผิดในธรรมชาติของตัวเอง และสรรพสิ่ง ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 316 สิงหาคม 2548
    อัศจรรย์แห่งโพชฌงค์ ๗เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ทรงอาพาธ พระจุนทะแสดงโพชฌงค์ถวายก็ทรงหายประชวร สำหรับคนทั่วไป ยามเจ็บไข้ได้ป่วย โพชฌงค์ ๗ สามารถช่วยให้อาการทุเลาหรือหายได้หรือไม่ ผู้เขียนเป็นทั้งแพทย์และครูแพทย์ ได้ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยมาเป็นเวลานานพอสมควร และได้เห็นความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องของกาย-ใจ ทั้งในภาวะปกติและภาวะ เจ็บป่วย ตลอดจนเห็นความสำคัญของการดูแลประคับประคองใจผู้ป่วยเสมอมา ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 316 สิงหาคม 2548
    บนเส้นทางหนังสือ(๗)คราวที่แล้วเป็นการคุยกันระหว่างท่านทะไล ลามะ กับหมอคัตเลอร์ค้างอยู่ตรงที่คนที่ขาดความรักและโหดร้ายอย่างสตาลิน"มีคนบางคนเริ่มต้นในชีวิตเลย มีชีวิตที่ขาดความรักจากผู้อื่นและไม่มีความสุข หลังจากนั้นเขาไม่มีความรู้สึกเยี่ยงมนุษย์ ไม่สามารถรักคนอื่นได้ กลายเป็นคนหยาบกระด้างและอำมหิต" ท่านทะไล ลามะ พูดแล้วก็หยุดไปนาน ครุ่นคิดอย่างจริงจัง ก้มลงหยิบถ้วยชาดื่ม ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 316 สิงหาคม 2548
    ยี่โถ : ความงาม หอม ทนทานดอกไม้ที่จะเขียนถึงตอนนี้ ผู้เขียนย้อนความจำไปถึงช่วง พ.ศ.๒๕๐๕ ก็คือ ๔๓ ปีมาแล้ว เมื่อผู้เขียนยังเป็นเด็กบ้านนอก อยู่บ้านริมแม่น้ำสุพรรณ (ท่าจีน) เขตอำเภอบางปลาม้า ขณะนั้นบ้านหลังใหม่ที่เป็นตึกคอนกรีตเพิ่งสร้างเสร็จ หลังจากอยู่บ้านไม้ (สัก) มาตั้งแต่รุ่นปู่ นับเป็นตึกขนาดใหญ่และทันสมัยที่สุดของท้องถิ่นในขณะนั้น สิ่งที่ตามตัวตึกมาก็คือการจัดบริเวณรอบๆ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 314 กรกฎาคม 2548
    พู่ระหง : ดอกไม้แห่งศักดิ์ศรีจากพญาหงส์"สุพรรณหงส์ทรงพู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์ดั่งหงส์ทรงพรหมินทร์ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม"กาพย์เห่เรือบทที่ยกมาขึ้นต้นบทความตอนนี้ เขียนขึ้นจากความทรงจำช่วงเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษา เมื่อ ๔๐ ปีที่แล้ว จึงอาจจะผิดเพี้ยนคลาดเคลื่อนไปบ้าง ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 315 กรกฎาคม 2548
    เปิดลายแทงแห่ง "ความสุข"ความลับที่คุณต้องรู้ นิตยสารไทม์ เปิดประเด็นที่พลิกกระแสนิยมในโลกยุคใหม่ได้อย่าง "กลับตาลปัตร"นั่นคือการสืบสาวเรื่องราวว่าด้วย"ความสุข" อย่างเจาะลึกถึงแก่นว่า มีที่มาจากไหนกันแน่ พร้อมกับพยายามพิสูจน์ด้วยผลวิจัยจากทั่วโลกว่า คาถา "มีเงินมากก็สุขมาก" นั้น ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 315 กรกฎาคม 2548
    บนเส้นทางหนังสือ (๖)ตอนที่แล้วเราคุยกันจากหนังสือ "ศิลปะแห่งความสุข" ของท่านทะไล ลามะ ถึงตอนที่ว่าด้วยความสัมพันธภาพระหว่างมนุษย์ความสัมพันธ์ที่อยู่บนฐานของความเสน่หาและการแต่งงานหมอคัตเลอร์ว่ารู้สึกแปลกมากที่จะคุยเรื่องเพศและการแต่งงานกับคนที่เป็นพระและอายุกว่า ๖๐ ปีแล้ว แต่ท่านทะไล ลามะ ก็ไม่รังเกียจที่จะคุยถึงเรื่องนี้ เขาจึงถามท่านว่า"ในวัฒนธรรมตะวันตก ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 315 กรกฎาคม 2548
    บุนนาค :จากความงามและความหอมสู่ตระกูลใหญ่ตามประวัติศาสตร์ของชนชาติไทย มีบันทึกไว้ชัดเจนว่า แต่ก่อนไม่มีการใช้นามสกุลต่อท้ายชื่อมาแต่เดิม เพิ่งจะเริ่มใช้นามสกุลอย่างเป็นทางการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ (รัชกาลที่ ๖) นี้เอง ซึ่งเป็นเวลาไม่ถึง ๑๐๐ ปีเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การสืบค้นย้อนกลับไปหาต้นกำเนิดของตระกูลคนไทยทำได้จำกัด ไม่สามารถย้อนกลับไปได้เป็นพันๆ ปีดังเช่น ชาวจีน ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 314 มิถุนายน 2548
    บนเส้นทางหนังสือ (๕)ตอนที่แล้วเราคุยกันจากหนังสือ "ศิลปะแห่งความสุข" ของท่านทะไล ลามะ ถึงตอนที่ว่า ความเห็นใจต่อความทุกข์ของผู้อื่นทำให้เกิดความกรุณา"วิธีทางพุทธอย่างหนึ่งในการทำให้เกิดความกรุณา" ท่านทะไล ลามะ ตรัสต่อไป "คือการคิดถึงผู้อื่นที่กำลังได้รับความทุกข์ทรมาน เช่น ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 313 พฤษภาคม 2548
    สุนทรียสนทนา หรือสานเสวนา (Dialogue)คำว่า Dialogue ในภาษาอังกฤษในความหมายของนักฟิสิกส์เรืองนาม นาม เดวิด โบห์ม ซึ่งมีผู้แปลว่า "สุนทรียสนทนา" บ้าง หรือ "สานเสวนา" บ้าง กำลังได้รับความนิยมแพร่หลายมากขึ้นทุกที เช่น กลุ่มเชียงราย อันมีคุณวิศิษฐ์ วังวิญญู เป็นโต้โผใหญ่ ทำการเผยแพร่และจัดฝึกอบรมทั่วไป คุณสุภาวดี หาญเมธี นำไปใช้เรื่องครอบครัวเข้มแข็ง ดร.ปาริชาต ...